Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1917
Title: การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง
Other Titles: Adoption of para rubber production technology of farmers in Hadsamran District of Trang Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นนิดา คุปต์กาญจนากุล, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ยางพารา--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกร (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตยางพาราของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย 41.10 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 หรือ 6 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.31 คน ประสบการณ์ในการปลูกยางพาราเฉลี่ย 15.0 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน มีอาชีพทำสวนยางพารา รองลงมาคือทำประมง มีพื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 11.73 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 10.23 ไร่ มีจานวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 2.3 คน มีจานวนแรงงานจ้างเฉลี่ย 2 คน ประเภทผลผลิตส่วนใหญ่คือน้ำยางพารา ในปีที่ผ่านมามีผลผลผลิตรวมเฉลี่ย 2,741.77 กิโลกรัม มีรายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ย 201,772.25 บาท มีรายจ่ายเฉลี่ย 30,877.34 บาท ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มีการจำหน่ายผลผลิตให้กับแหล่งรับซื้อเอกชนในหมู่บ้าน ใช้แหล่งเงินทุนของตนเองในการปลูกยางพารา มีแหล่งและระดับการได้รับความรู้ทางการเกษตรจากสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อกิจกรรม โดยเกษตรกรได้รับความรู้อยู่ในระดับปานกลาง (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้พื้นฐานในการผลิตยางพาราอยู่ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเชิงความคิดเห็นในระดับมาก โดยปัจจัยที่เกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีมากที่สุดคือปัจจัยด้านพันธุ์ยางพารา รองลงมาคือด้านการจัดการปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกร ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกยางพารา พื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมด จำนวนแรงงานจ้าง และรายได้จากการจำหน่ายยางพาราในปีที่ผ่านมา (5) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตยางพาราในภาพรวมระดับปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้านราคาของยางพารา ปุ๋ย และมีการประกันราคายางพารา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1917
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143281.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons