Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1919
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปาก ของกรรมการควบคุมโรคระดับตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Factors associated with participation in the control of hand, foot and mouth disease of sub-district disease control committees in Uttaradit Province |
Authors: | ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์ ภาคภูมิ ธงสันเที๊ยะ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ โรคติดต่อ--การป้องกันและควบคุม โรคมือเท้าปาก--การป้องกันและควบคุม |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน (2) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปาก ของกรรมการควบคุมโรคระดับตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก ปัจจัยสนับสนุนดำเนินงาน กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปากของ กรรมการควบคุมโรคระดับตำบล และ (4) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปาก ของกรรมการควบคุมโรคระดับตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร คือ กรรมการควบคุมโรคระดับตำบลในจังหวัดอุตรดิตถ์ จานวน 484 คน คำนวณตัวอย่างได้ 215 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย แต่งงานแล้ว อายุเฉลี่ย 43 ปี มีการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี อาชีพหลักรับราชการ มีตาแหน่งอื่นๆ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข รายได้อยู่ระหว่าง 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 3.2 ปี ความรู้เกี่ยวกับโรคมือเท้าปากอยู่ในระดับสูง และปัจจัยสนับสนุนดำเนินงานส่วนใหญ่ คือ ข้อมูลข่าวสาร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การฝึกอบรม และการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคมือเท้าปาก (2) ระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปากในภาพรวมและรายด้าน อยู่ระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานควบคุมโรคมือเท้าปากของกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ สถานภาพสมรสอายุ ระดับการศึกษา ระดับความรู้ การฝึกอบรม การสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ และ(4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ขาดทักษะในการปฏิบัติงาน และขาดความร่วมมือจากชุมชน ข้อเสนอแนะ ควรสร้างขวัญกำลังใจ ยกย่องเชิดชูและมอบใบประกาศเกียรติคุณ และพิจารณาให้ความดีความชอบในผู้ที่มีผลงานดีเด่น ควรจัดอบรมฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับทักษะและการปฏิบัติงานควบคุมโรคมือเท้าปาก ควรสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาการสำคัญของโรคมือเท้าปากในชุมชน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1919 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158772.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License