Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1921
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกรข้าวหอมมะลิ จังหวัดศรีสะเกษ
Other Titles: Factors affecting farmers' participation in the Hom Mali Rice Farmer Field School in Si Sa Ket Province
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชลธิชา วิยาสิงห์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
โรงเรียนเกษตรกร--ไทย--ศรีษะเกษ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกรข้าวหอมมะลิจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกรข้าวหอมมะลิ (2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกร (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการมีส่วนร่วมในโรงเรียนเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่อายุเฉลี่ย 49.82 ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ45.7 เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร กลุ่มลูกค้า ธกส. ร้อยละ 54.0 และ มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 28.95 ปี มีพื้นที่ทานาเฉลี่ย 16.02 ไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวโดยเฉลี่ย 2,735.23 บาท/ไร่ ผลผลิตการทำนา เฉลี่ย 427.36 กิโลกรัม/ไร่ มีแรงงานด้านการเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 2.66 คน และมีรายได้จากการทำนาโดยเฉลี่ย 6,913.20 บาท/ไร่ เกษตรกรมีการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆเกี่ยวกับโรงเรียนเกษตรกรอยู่ในระดับมากและเห็นว่าได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก (2) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรอยู่ในระดับมากที่สุด เกษตรกรมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุดคือด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการทากิจกรรม ด้านการประเมินผล ด้านการวางแผน ตามลำดับ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกร พบว่า มี 5 ตัวแปร โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกได้แก่ การสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การเป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรและอายุ ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ ผลผลิตข้าวกิโลกรัม/ไร่และประสบการณ์ในการทานา (4) เกษตรกรในโรงเรียนเกษตรกร มีปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบมากในโรงเรียนเกษตรกร คือ ปัจจัยการผลิตมาล่าช้า เกษตรกรไม่ตรงต่อเวลา ไม่แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะคือ เกษตรกรต้องการให้หน่วยงานจัดดำเนินการของโรงเรียนเกษตรกรต่อไป มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ควรจัดปัจจัยการผลิตให้ทันต่อฤดูกาล อยากให้เจ้าหน้าที่มาอบรมอย่างสม่ำเสมอ มีการคัดเกษตรกรที่อายุไม่มากเข้าร่วมโรงเรียนเกษตรกรและควรตรงต่อเวลา
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1921
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143283.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons