Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1922
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ : กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Other Titles: Factors related to caring for disabled elderly persons : a case study of elderly caregivers in Ban Ueam Subdistrict, Mueang District, Lampang Province
Authors: อารยา ประเสริฐชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุพา ฟูชื่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ--ไทย--ลำปาง
ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--ลำปาง
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ (2) การดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพในระดับครอบครัวในตำบลบ้านเอื้อมอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในกลุ่มลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับการดูแลผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ ในตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพในตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปางจากการประเมินการประกอบกิจวัตรประจำวัน จานวน 74 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบ สอบถามที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้ ครอนบาคอัลฟาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ทุพลภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.72 มีผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุร้อยละ 21.60 มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด สถานภาพสมรส คู่ ประกอบอาชีพ เกษตรกร นับถือศาสนาพุทธ รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน อยู่ในระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท ส่วนความเพียงพอของรายได้ครอบครัว พอใช้แต่ไม่เหลือเก็บ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เป็นบุตร ระยะเวลาในการดูแล อยู่ในช่วง 1 – 5 ปี (2) การดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพในตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ได้แก่ การดูแลทางด้านร่างกาย อยู่ในระดับมาก ทางด้านจิตสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และทางด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก และ(3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ทัศนคติและความเชื่อ การมีและเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข และการได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน อสม. และเพื่อนบ้าน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่ทุพพลภาพ ควรพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแล ด้านความรู้ ทัศนคติ ทักษะในการดูแล เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม. (บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1922
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158775.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons