Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1925
Title: | การยอมรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Adoption of pesticide free vegetable production by vegetable growers in Pathum Thani Province |
Authors: | จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา ปิยวัฒน์ ขนิษยบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา จำเลียง หมื่นวัน, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ผักปลอดสารพิษ--การผลิต เกษตรกร--ไทย--ปทุมธานี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร และ 5) ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 61.7 เป็นเพศชาย มีอายุ 41-50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 1-5 ไร่ ร้อยละ 43.5 มีแรงงานในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ 2 คนร้อยละ 69.48 มีประสบการณ์ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ 1-5 ปี ร้อยละ 77.92 มีพื้นที่ทำการเกษตร 1-8 ไร่ ร้อยละ 35.7 ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ 2 ชนิด ร้อยละ 49.35 ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ผลผลิตเฉลี่ย 23,096.104 กิโลกรัมต่อปี รายได้เฉลี่ย 356,499.35 บาทต่อปี รายจ่ายเฉลี่ย 48,767.53 บาทต่อปี เกษตรกรร้อยละ 56.5 ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจำนวนกึ่งหนึ่งลงทุนเองและกู้ยืมบางส่วน เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยสารพิษมากที่สุดจากเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน เกษตรกรร้อยละ 83.1 เคยเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ เฉลี่ย 2 ครั้ง ได้รับความรู้จากสำนักงานเกษตรจังหวัด เกษตรกรจำหน่ายผักปลอดภัยจากสารพิษให้พ่อค้าคนกลาง ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพราะราคาดี (2) เกษตรกรมีการยอมรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษระดับมาก โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ทั้ง 8 ขั้นตอน (3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา จานวนแรงงาน ประสบการณ์ การถือครองที่ดิน ผลผลิต รายได้ รายจ่าย การเป็นสมาชิกกลุ่ม สถาบัน จำนวนครั้งที่อบรม มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (4) เกษตรกรต้องการความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูผ่านสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์แบบคู่มือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ และต้องการวิธีการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษแบบการสาธิต (5) เกษตรกรมีปัญหาพ่อค้าคนกลางกดราคา และโรค แมลงศัตรูพืช โดยเสนอแนะว่า ควรมีการส่งเสริมแบบเจาะจง เพื่อหาเกษตรกรต้นแบบเพื่อนำไปสู่การขยายผล |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1925 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143292.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License