Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1926
Title: สภาพการผลิตและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันแกวของเกษตรกรในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
Other Titles: Yam bean production and extension needs of farmers in That Phanom District of Nakhon Phanom Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทร์สุดา คำปัน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันแกว--การผลิต
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตมันแกว (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตมันแกวของเกษตรกร (3) สภาพการผลิตมันแกวของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันแกวของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมันแกวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.37 ปี สถานภาพสมรส จบการ ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา อาชีพหลักประกอบการเกษตร เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์ทาการเกษตรและการปลูกมันแกว เฉลี่ย 30.34 และ 24.13 ปี ตามลาดับ รับข้อมูลข่าวสารการเกษตรระดับมากที่สุดจากผู้นำท้องถิ่น และระดับมากจากการอบรม วิทยุโทรทัศน์ และหอกระจายข่าว มีสมาชิกและแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4.18 และ 2.39 คน พื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมดและปลูกมันแกวเฉลี่ย 4.09 และ 1.31 ไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายและรายจ่ายจากการผลิตมันแกวเฉลี่ย 32,948.47 และ 6,330.86 บาทต่อไร่ ตามลาดับ (2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตมันแกวเฉลี่ยในระดับปานกลาง (3) สภาพการผลิตมันแกวของเกษตรกรส่วนใหญ่ ปลูกปีละ 1 ครั้ง ในที่สวน ดินร่วนปนทราย ทั้งแบบไม่ยกร่องและแบบยกร่อง ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 18.16 กิโลกรัมต่อไร่ของพันธุ์หัวใหญ่ (หนัก) ให้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเฉลี่ย 1.46 ครั้งต่อรอบการผลิต โดยนับอายุในการเก็บเกี่ยว ขายส่งแก่พ่อค้าคนกลางและขายปลีกในราคาเฉลี่ย 9.53 และ 13.38 บาทต่อกิโลกรัม (4) เกษตรกรมีความต้องการระดับมากในการส่งเสริมเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิต การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ในรูปแบบการเยี่ยมเยียนของเจ้าหน้าที่ (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาดในภาพรวมระดับมาก โดยราคาผลผลิตไม่แน่นอนเป็นปัญหาระดับมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกันราคา ปรับปรุงพันธุ์ กำหนดราคาปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ สนับสนุนเครื่องมือเก็บเกี่ยว และให้ความรู้การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และการแปรรูปผลผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1926
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143293.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.43 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons