Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1934
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorอรอนงค์ กฐินหอมth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-31T07:42:35Z-
dc.date.available2022-10-31T07:42:35Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1934-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติของเครือข่ายชุมชน (2) ระดับ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายกเทศมนตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 1,809 คน คำนวณได้จำนวนตัวอย่าง 320 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.67, 0.72, และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเครือข่ายชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 41.59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. อาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 79.7 และผู้ใหญ่บ้าน/ กำนัน/นายกเทศมนตรี/นายก อบต. ร้อยละ 20.3 ระยะเวลาการดำรงตาแหน่งในชุมชนเฉลี่ย 8.78 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน ร้อยละ 56.9 ไม่เคยได้รับการประชุม/อบรมด้านสาธารณสุข ร้อยละ 65.6 เคยได้รับข่าวสารด้านสาธารณสุข ร้อยละ 88.8 เคยได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ ร้อยละ 87.2 ระดับความรู้และทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภออยู่ในระดับปานกลาง (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอเครือข่ายชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ การเข้าร่วมประชุม/อบรมเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ การได้รับข่าวสาร การได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ ส่วนอายุ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในชุมชน ความรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง เครือข่ายชุมชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ทั่วถึงและควรมีการจัดประชุม/อบรมเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2017.42-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุข--ไทย--สตูลth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูลth_TH
dc.title.alternativeFactors related to participation in District Health System of Community Networks at Mueang District, Satun Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2017.42-
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were: (1) to identify personal factors, knowledge and attitudes of community network members; (2) to determine the levels of community network participation; (3) to examine the relationship between personal factors, knowledge and attitudes and community network participation; and (4) to identify problems and make suggestions, all concerning the participation of community network members in the District Health System (DHS) in Mueang district, Satun province. This research involved 320 respondents selected using the cluster sampling method from 1,809 village health volunteers, village/subdistrict headmen, and municipal mayors in Satun Mueang district. Data were collected using a questionnaire with the reliability values for knowledge, attitudes and participation of 0.10, 0.72 and 0.91, respectively. Descriptive statistics such as frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Pearson correlation coefficient were used in data analysis. The results revealed that: (1) concerning the personal factors of all respondents, most of them were female, had an average age of 41.59 years, completed secondary or vocational education, and worked as private-sector employees; 79.7% were village health volunteers and 20.3% were village/subdistrict headmen, mayors or chief executives of subdistrict administrative organizations; had on average 8.78 years of experience in community-related work; 56.9% were members of community groups; 65.6% had never attended any health-related meeting/training; 88.8% had ever received health information and 87.2% had heard or known about the DHS. They had moderate levels of knowledge about and attitudes towards the DHS operations; (2) the level of community network members’ DHS participation was moderate; (3) the factors significantly associated with the DHS participation (p <0.05), were gender, DHS meeting or training attendance, receipt of or perception about the DHS, whereas age, duration of community service, knowledge and attitudes were positively and significantly associated with the DHS participation (p =<0.05); and (4) major problems identified were the poor coverage of health information dissemination and the lack of courage to express their concerns about the DHS. Thus, is suggested that activities for disseminating the information about health as well as DHS should be organized in a thorough manner for all community network members; and meetings or training sessions on DHS should be held continuallyen_US
dc.contributor.coadvisorวรางคณา จันทร์คงth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158779.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons