กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1934
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to participation in District Health System of Community Networks at Mueang District, Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรอนงค์ กฐินหอม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
การบริหารสาธารณสุข--ไทย--สตูล
การส่งเสริมสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติของเครือข่ายชุมชน (2) ระดับ การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข และกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายกเทศมนตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสตูล จำนวน 1,809 คน คำนวณได้จำนวนตัวอย่าง 320 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.67, 0.72, และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเครือข่ายชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 41.59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. อาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 79.7 และผู้ใหญ่บ้าน/ กำนัน/นายกเทศมนตรี/นายก อบต. ร้อยละ 20.3 ระยะเวลาการดำรงตาแหน่งในชุมชนเฉลี่ย 8.78 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน ร้อยละ 56.9 ไม่เคยได้รับการประชุม/อบรมด้านสาธารณสุข ร้อยละ 65.6 เคยได้รับข่าวสารด้านสาธารณสุข ร้อยละ 88.8 เคยได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ ร้อยละ 87.2 ระดับความรู้และทัศนคติต่อการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภออยู่ในระดับปานกลาง (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอเครือข่ายชุมชนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอของเครือข่ายชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ การเข้าร่วมประชุม/อบรมเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ การได้รับข่าวสาร การได้ยินหรือรับรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภอ ส่วนอายุ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในชุมชน ความรู้ และทัศนคติ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัญหาที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง เครือข่ายชุมชนไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ทั่วถึงและควรมีการจัดประชุม/อบรมเกี่ยวกับระบบสุขภาพระดับอำเภออย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1934
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158779.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons