กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1935
ชื่อเรื่อง: | การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม โรงพยาบาลตำรวจ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Cost analysis of nursing care for patients receiving coronary artery bypass grafting by using activity-based costing system at Police General Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา สุขรัตน์ มูลสาคร, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การพยาบาล -- ต้นทุนและประสิทธิผล โรงพยาบาลตำรวจ หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค ผู้ป่วย -- ไทย -- ต้นทุนและประสิทธิผล |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประะสงค์เพื่อ (1) ศึกษาต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลตำรวจ โดยรวมระยะก่อนผ่าตัด ระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด และ (2) ศึกษาสัดส่วนต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กับค่าบริการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลตำรวจกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 12 คน ผู้ใหัข้อมูลคือพยาบาลห้องผ่าตัดหัวใจ จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลทางตรงของผู้ป่วย ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจครั้งนี้ใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบ บันทึกข้อมูล จำนวน 8 ชุด พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และ นาฬิกาจับเวลา เครื่องมือที่สร้างขึ้นผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงจากการสังเกต ตามแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชัสถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เท่ากับ 32,633.38 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 3,878.10 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 27,058.83 บาท และต้นทุนค่าลงทุน 1,696.44 บาท คิดเป็นสัดส่วนต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน 2.28 : 15.95 : 1 โดยมี (ก) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด เท่ากับ 951.00 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 509.30 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 232.23 บาท และ ต้นทุนค่าลงทุน 209.46 บาท คิดเป็นสัดส่วน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน 2.43 : 1.11 : 1(ข) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะผ่าคัดเท่ากับ 31,238.19 บาท ประกอบด้วยต้นทุนค่าแรง 3,146.78 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 26,671.09 บาท และต้นทุนค่าลงทุน 1,420.32 บาท คิดเป็นสัดส่วนต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน 2.21 : 18.76 : 1 และ (ค) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะหลังผ่าตัด เท่ากับ 444.19 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรง 22.02 บาท ต้นทุนค่าวัสดุ 155.51 บาท และต้นทุนค่าลงทุน 66.66 บาท คิดเป็นสัดส่วนต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน 3.33 : 2.33 : 1 และ (2) สัดส่วนของต้นทุนกิจกรรม การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจกับราคาค่าผ่าคัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ที่ใรงพยาบาลตำรวจ กำหนดเท่ากับ 1 : 1.93 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1935 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib118799.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License