กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1944
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operational development of Muang Nong Han agricultural cooperatives limited, Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ นามวงศ์
อัษฎาพร พิบูลย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จำกัด จังหวัดอุดรธานี--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยใช้การประเมินผลแบบดุลยภาพ และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จํากัด จังหวัดอุดรธานี ประชากรในการกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองหนองหาน จํากัด จํานวน 2,962 คน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 352 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และ 2) คณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการ จํานวน 33 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือในการศึกษาใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์โดยใช้การประเมินผลแบบดุลยภาพ ทั้ง 4 มุมมอง (1) ด้านการเงิน โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน CAMELS เทียบกับอัตราส่วนสําคัญของสหกรณ์การเกษตรเฉลี่ยของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ข้อมูลที่บัญชี 2560-2562 พบว่า มิติที่ 1 ความเพียงพอของเงินทุนต่อความเสี่ยงของสหกรณ์ สูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 2 คุณภาพของสินทรัพย์ โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย มีอัตราการหมุนของสินทรัพย์ กว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 ขีดความสามารถในการบริหาร สูงกว่าค่าเฉลี่ย การเพิ่มขึ้นและลดลงของอัตราการเติบโตทางธุรกิจ ไม่แน่นอน มิติที่ 4 การทํากำไรของสหกรณ์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย อัตราการทำกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยเงินออมต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ย และอัตราหนี้สินต่อสมาชิกสูงกว่าค่าเฉลี่ยอัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตของทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ย อัตรากําไรสุทธิสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 5 สภาพคล่องทางการเงินของสหกรณ์โดยรวมสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่มีอัตราการหมุนของสินค้าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และอายุเฉลี่ยของสินค้าสูงกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 6 ผลการทบต่อธุรกิจ คู่แข่งทางด้านธุรกิจ นโยบายการช่วยเหลือด้านการเงินของรัฐ ระเบียบข้อบังคับที่เพิ่มใหม่ ส่งผลต่อการบริหารงานของสหกรณ์ (2) ด้านลูกค้า พบว่า ความพึงพอใจของสมาชิกในฐานะของลูกค้าอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ด้านกระบวนการภายใน พบว่าความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการอยู่ในระดับมาก (4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา พบว่า คณะกรรมการและฝ่ายจัดการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ (1) ด้านการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องสหกรณ์ควรบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดรายได้มากที่สุด (2) ด้านลูกค้า เพื่อเพิ่มการพัฒนาที่ดีขึ้นสหกรณ์ควรเพิ่มด้านภาพลักษณ์ของสหกรณ์และตราสินค้า เช่น การจัดสถานที่ทํางานอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้กับสมาชิก การจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพสมาชิก (3) ด้านกระบวนการภายในสหกรณ์ควรเพิ่มด้านนวัตกรรม เช่น สหกรณ์ควรมีบริการสั่งของออนไลน์ และ (4) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาสหกรณ์ควรเพิ่มทักษะบุคลากรในด้านต่างๆ เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ด้านเทคโนโลยี และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสหกรณ์ เป็นต้น
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1944
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons