Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1945
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงต่อการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจโดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลในห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลสมุทรสาคร
Other Titles: The development of a risk management model of accidental extubation by staff nurses' involvement in the intensive care unit, Samutsakhon Hospital
Authors: ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญรดี จิรสินธิปก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นุสรา สุทธิธรรม, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
วิสัญญีวิทยา -- เครื่องมือและอุปกรณ์ .
เครื่องช่วยหายใจ
พยาบาล -- ภาระงาน -- การบริหารความเสี่ยง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเซิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงต่อการ เลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจโดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลสมุทรสาคร วัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจ (2) ดำเนินการ พัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงต่อการเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจโดยการมีส่วนร่วมของพยาบาล (3) เปรียบเทียบจำนวนอุบัติการณ์การเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจของผู้ป่วย และความพึงพอใจของ พยาบาลต่อรูปแบบการบริหารความเสี่ยงก่อนและหลังใช่รูปแบบการบริหารความเสี่ยงฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาซิพที่ปฏิบัติงานห้องผู้ป่วยหนัก 1 โรงพยาบาลสมุทรสาคร จำนวน 16 คน ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 37 คน และญาติของผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์การเลื่อน/หลุด ของท่อช่วยหายใจ เครื่องมือที่ใช่เป็นแบบบันทึกรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยและ ญาติ แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แผนการอบรมเซิงปฏิบัติการ แบบบันทึกติดตามประเมินผลการ เลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล แบบสอบถามใช้กับการ ตรวจสอบความตรงเซิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเซิงปริมาณ ให้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าไคสแควร์ การทดสอบค่าทีแบบจับคู่ และการวิเคราะห์ข้อมูลเซิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มของพยาบาล และการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ ผลการวิจัยพบว่า (1) สาเหตุการเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยด้าน ผู้ป่วย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านญาติและปัจจัยด้านปฏิบัติการพยาบาล (2) การพัฒนารูปแบบจะให้รูปแบบ การบริหารความเสี่ยงฯ ที่ประกอบด้วย แนวทางปฏิบัติ แบบบันทึกติดตามประเมินผลการเลื่อน/หลุดของ ท่อช่วยหายใจ และแผนภูมิแสดงขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงต่อการเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจ (3) จำนวนอุบัติการณ์การเลื่อน/หลุดของท่อช่วยหายใจ หลังใช่รูปแบบการบริหารความเสี่ยงต่ำกว่าก่อน ใช่รูปแบบการบริหารความเสี่ยง และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาล หลังใช่รูปแบบการบริหารความ เสี่ยง สูงกว่าก่อนใช่รูปแบบการบริหารความเสี่ยงฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1945
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib118804.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons