Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1954
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Factors relating to the operational success of agricultural services and technology transfer centers in Sao Hai District of Saraburi Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ทปี่ รึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ทปี่ รึกษา
ปรีชา สายแสง, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล--การบริหาร
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของ คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (2) ศึกษาการดำเนินงาน ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการ ดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (4) ศึกษาปัญหา และเสนอแนะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล ผลการวิจัย พบว่า (1) คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ กว่าสามในสี่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.87 ปี ร้อยละ 50 มีระดับการศึกษาประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสแล้ว กว่าครึ่งหนึ่งไม่มี ตำแหน่งทางสังคม เกือบสองในสามมีระยะเวลา การดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 5 ปี กว่าหนึ่งในสามเป็น ข้าราชการ และเกือบสองในสามมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท (2) คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มี ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์บริการฯ และความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์บริการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์บริการฯ มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านการจัดการ ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านกำลังคน และด้านวัสดุอุปกรณ์ (4) คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เห็นว่าศูนย์บริการฯ มีปัญหาในการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลาง ส่วนข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ บริหารศูนย์ฯ เสนอว่าควรจัดสรรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ลง สู่พื้นที่ตามความต้องการของเกษตรกรอย่างเพียงพอ ควรมีนักวิชาการเกษตรตำบลเข้ามาเป็ น ผู้ ประสานงานในระดับอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และเกษตรกร รวมทั้งควรมีการประชาสัมพันธ์ และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1954
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143716.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons