Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1956
Title: | การปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรในอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Soil improvement by reducing chemical users of farmers in Nong Phai District of Phetchabun Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา รวิพร เพ็ชรล้อมทอง, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ การปรับปรุงดิน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร (2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมี (3) เจตคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมี (4) วิธีการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการสารเคมี (5) ปัจจัยที่มีผลกับการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการสารเคมี และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับปรุงบำรงดินโดยลดการใช้สารเคมี ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรที่ให้ข้อมูล มากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.82 ปี ระดับการศึกษาส่วนมากจบชั้นประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา โดยรายได้จากการทานาเฉลี่ย 194,705.68 บาท/ปี รองลงมาคือ รายได้จากการทำไร่เฉลี่ย 142,432 บาท/ปี รายได้รวมภาคการเกษตร เฉลี่ย 275,144.80 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 60,986.97 บาท/ปี พื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 38.82 ไร่ ลักษณะพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม ลักษณะดินร่วนและเป็นดินกรด (2) ระดับความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน ส่วนมากอยู่ในระดับมาก (3) เจตคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมี เกษตรกร ส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากที่สุดเกือบทุกประเด็น (4) ปัจจัยบางประการ ได้แก่ อายุ จานวนแรงงานในครัวเรือน รายได้ภาคการเกษตร รายได้นอกภาคการเกษตร พื้นที่ทาการเกษตร มีความสัมพันธ์กับวิธีการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรบำงประเด็น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ และ (5) ปัญหาของเกษตรกรในการเลี้ยงไก่เนื้อ ได้แก่ ความเพียงพอของจานวนวัสดุที่ขอรับบริการ วิธีการปรับปรุงบำรุงดิน และความรู้ในการปรับปรุงบำรุงดิน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินโดยลดการใช้สารเคมี โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1956 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143736.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License