กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1961
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operations of farm women groups in Naduang District of Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารีพร บุตรสระเกษ, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม--ไทย--เลย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยทางสังคมและ เศรษฐกิจของคณะกรรมการกลุ่ม แม่บ้านเกษตรกร (2) การดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (3) ความต้องการในการดำเนินงาน ของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของคณะกรรมการกลุ่ม แม่บ้านเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 46.38 ปี ส่วนใหญ่จบการ ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะเวลาการเป็นคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 6.27 และ 15 ปี ตามลำดับ ประกอบการเกษตรเป็นอาชีพหลัก มีรายได้ของครัวเรือน เฉลี่ยปีละ 196,827.45 บาท และมี รายได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เป็นผลตอบแทนและเงินปันผล เฉลี่ยต่อปี 3,578.82 และ 2,796.47 บาท ตามลำดับ มีรายจ่ายในภาคเกษตรเฉลี่ยปีละ 73,262.45 บาท (2) คณะกรรมการมีความเห็นว่า กลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสมาชิกในระดับมาก การดำเนินงานระดับปานกลาง 3 ด้านได้แก่ ด้านบริหารจัดการองค์กร ด้านการบริหารการเงิน และด้านการบริหารจัดการการผลิต การดำเนินงานระดับน้อย คือ การบริหารจัดการการตลาด และการดำเนินงานระดับน้อยที่สุดคือ การติดตามและประเมินผล (3) คณะกรรมการมีความต้องการในการดำเนินงานในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม การมีส่วนร่วมของสมาชิก และการพัฒนาความรู้ (4) ปัญหาในการดำเนินงานในระดับมาก 2 ประเด็น ได้แก่ การ ติดตามประเมินผล และการบริหารจัดการการตลาด และปัญหาระดับปานกลาง 3 ประเด็น ได้แก่ การบริหาร การเงิน การบริหารจัดการการผลิต และการบริหารจัดการองค์กรและสมาชิก โดยมีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง สนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงาน การให้ความรู้และการประสานงานในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1961
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143738.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons