Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1963
Title: การประเมินผลโครงการสารพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด จังหวัดพิษณุโลก
Other Titles: Evaluation of the Pracharat power project to support corn planting after the farming season of Phrom Phiram Agricaltural Cooperatives Limited, Phitsanulok Province
Authors: สุจิตรา รอดสมบุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัญชลี บุญทับ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการสานพลังประชารัฐ--การประเมิน
ข้าวโพด--การปลูก--ไทย--พิษณุโลก
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ 2) ผลการดำเนินงานของโครงการ และ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จํากัด ทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ ปีการผลิต 2561/2562 จํานวน 83 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จํากัด ที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 51 - 60 ปี การศึกษามัธยมศึกษา ปวช. ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 1-5 ปี พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จํานวน 1 - 10 ไร่ ต้นทุนการปลูกข้าวโพด ระหว่าง 50,000 - 100,000 บาท/ปี รายได้จากภาคการเกษตร 50,000-100,000 บาท/ปี รายจ่ายจากภาคเกษตร 50,001 - 75,000 บาท/ปี ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขายให้กับสหกรณ์ และเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการคือราคาในการรับซื้อเป็นที่น่าพอใจ 2) ผลการดำเนินโครงการด้านสภาวะแวดล้อมพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากนโยบายการส่งเสริมข้าวโพดหลังนาเป็นประโยชน์กับสมาชิก หลังเข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะสมาชิกทราบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา ด้านปัจจัยนำเข้า ก่อนเข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เหตุผลคือสหกรณ์มีเครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องชั่งนํ้าหนักได้มาตรฐานและเที่ยงตรง ด้านกระบวนการ ก่อนเข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สาเหตุเพราะมีการประชาสัมพันธ์การรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมโครงการอย่างเหมาะสม และมีหลากหลายช่องทาง ด้านผลสัมฤทธิ์ก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เพราะการปลูกข้าวโพดหลังนาทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หลังเข้าร่วมโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะสามารถนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพเกษตรกร และ 3) ปัญหา คือ ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง ขาดแคลนแหล่งนํ้า ขาดความรู้ ปัญหาแมลงศัตรูพืช และข้อเสนอแนะ คือ สหกรณ์ควรมีการกำหนดราคารับซื้อภาครัฐควรประกันราคารับซื้อผลผลิตสนับสนุนอุปกรณ์การตลาด และแหล่งน้ำ
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1963
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons