Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1964
Title: การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวของสมาชิก ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Brown planthopper controls in rice fields by members of community pest management centers in Bang Pla Ma District of Suphan buri Province
Authors: ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุไรลักษณ์ ดวงฉวี, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ศัตรูพืช--การควบคุม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทำงสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (2) ประสบการณ์และการประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลของสมาชิกศูนย์ฯ (3) วิธีการป้องกันกาจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและสาเหตุที่สมาชิกไม่ปฏิบัติตามแนวทำงของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (4) ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้อยละ 55.1 ของสมาชิกเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.66 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 30.72 ปี และเป็นสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนมาแล้ว 5 ปี การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนาจะตัดสินใจร่วมกับสมาชิกในครัวเรือน สมาชิกมากกว่าครึ่งไม่มีอาชีพอื่นนอกจากการทำนา จำนวนแรงงานในการทำนารวมตนเอง 2 คน มีพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 37.09 ไร่ รายได้จากการทำนา ในปี 2556 เฉลี่ย 21,794.34 บาทต่อไร่ รายจ่ายในการป้องกันกาจัดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ปี 2556 เฉลี่ย 492.95 บาทต่อไร่ สมาชิกมากกว่าครึ่งเข้าร่วมกิจกรรมกับศูนย์ฯ เป็นประจำและได้รับความรู้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลโดยวิธีผสมผสานจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 2) สมาชิกเกือบสามในสี่เคยประสบปัญหาการระบาดอย่างรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก่อนเป็นสมาชิกศูนย์ฯ 3) วิธีป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสมาชิกส่วนใหญ่ปฏิบัติตามแนวทำงของศูนย์ฯ เกือบทุกประเด็น ส่วนวิธีการที่สมาชิกไม่ปฏิบัติ เนื่องจาก ขั้นตอนในการปฏิบัติยุ่งยาก สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติบางประเด็น และข้อจำกัดของชีวภัณฑ์ 4) ปัญหาสำคัญของสมาชิก คือ ขั้นตอนการปฏิบัติยุ่งยากหลายขั้นตอน ข้อจำกัดของชีวภัณฑ์ ไม่มีความรู้เรื่องศัตรูธรรมชาติและสารเคมีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งสมาชิกให้ข้อเสนอแนะว่า การป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามแนวทางของศูนย์ฯ ควรลดขั้นตอนในการปฏิบัติ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และด้านความรู้ทางวิชาการให้นาเสนอรูปแบบที่จดจำได้ง่าย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1964
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143739.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.22 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons