กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1970
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการคลินิกหมอครอบครัว อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The marketing mix factors effecting to choose health services of primary care cluster Phra Nakhon Si Ayutthaya District
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พาณี สีตกะลิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ตรีศักดิ์ รีละออง
มหาวิทยาลัยสุโขท้ยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมผู้บริโภค
คลินิก--พฤติกรรมผู้บริโภค.--ไทย--พระนครศรีอยุธยา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของประชากรที่เลือกใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัว (2) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัว (3) ระดับความสำคัญของการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกหมอครอบครัว (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัว และ (5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจเลือกการใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัวประชาชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 คน เป็นผู้รับบริการในคลินิกหมอครอบครัว 5 แห่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยการสุ่มตัวอย่างแบบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากประชาชนที่รับผิดชอบของคลินิกหมอครอบครัวระหว่าง 10 พฤศจิกายน ถึง 20 ธันวาคม 2560 โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงที่ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบโดยใช้สถิติไควร์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของประชากรที่เลือกใช้บริการส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุ 51 -60 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวนครั้งใช้บริการ 2 – 5 ครั้ง (2) ภาพรวมปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการใช้บริการคลินิกหมอครอบครัวค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ภาพรวมระดับความสำคัญของการตัดสินใจเลือกใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัวค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 อยู่ในระดับมากที่สุด (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัว พบว่าจำนวนครั้งที่มาใช้บริการมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05 และ (5) ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจเลือกการใช้บริการในคลินิกหมอครอบครัว พบว่ามีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< .05 ทั้ง ด้านบริการด้านราคา ด้านสถานที่และช่องทางการรับบริการ การส่งเสริมการบริการ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และลักษณะทางกายภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1970
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158318.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons