กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1980
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a case management model for breast cancer patients with post mastectomy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิบูลย์ ภู่สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธิดา รั้วมั่น, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มะเร็งเต้านม -- การรักษา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการ การ จัดการรายกรณผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด (2) สร้างรูปแบบ และ (3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการการจัดการรายกรณีของโรงพยาบาลนี้ ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 ราย ได้แก่ ศัลยแพทย์หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม 1 ราย ศัลยแพทย์ 1 ราย ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล 1 ราย หัวหน้าหอผู้ป่วย 2 ราย พยาบาลวิชาชีพ 7 ราย ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด 5 ราย และสามีผู้ป่วย 1 ราย กลุ่มตัวอย่างที่ 2 เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ จำนวน 11 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างเดิมเดิมและเพิ่มอาจารย์พยาบาล 1 คน เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ชุด (1) ประเด็นสนทนาเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์และความต้องการในกาวจัดการรายกรณีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดสำหรับผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบที่สร้างขึ้น เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนี้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนี้อหาของเครื่องมือทั้ง 2 ชุด เท่ากับ 0.88 และ 0.83 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนารายบุคคล และกลุ่มด้วยสุนทรียสนทนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนี้อหา และสำนวฌค่าคะแนนความเหมาะสมผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้าง มีการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและ การมอบหมายงานที่ชัดเจน มีมาตรฐานการปฏิบัติ 2) ด้านกระบวนการในการนำรูปแบบการจัดการรายกรณีสู่ การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านผลลัพธ์ผู้รับบริการ ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการ และมีความพึงพอใจต่อบริการ 2. ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการรายกรณีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วย การผ่าตัดในโรงพยาบาลแห่งนี้ พบว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใชัโดยมีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 91.16 มิติ ด้านความ เป็นอิสระของการพัฒนารูปแบบ มีคะแนนการประเมินความเหมาะสมมากที่สุด คือ ร้อยละ 96.88 มิติ ด้ามความ ชัดเจนและการนำเสนอ มีคะแนนประเมินความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 88.02 ข้อเสนอแนะสำหรับ โรงพยาบาลที่ต้องการนำรูปแบบการที่พัฒนาขึ้นนี้ ไปใช้ จำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการของบุคลากรและ ความเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1980
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib124399.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons