Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1987
Title: | การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียวของชุมชนบ้านบุไทร ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Community tourism management adhering to green tourism of Baan Busai, Thai Samakkee Sub-district, Wang Nam Khiao District, Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา สุกฤตา พูนเกษม, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน--ไทย--นครราชสีมา |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน (2) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของนักท่องเที่ยว (3) การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียว (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียว ผลการวิจัย พบว่า (1) คณะกรรมการชุมชนประมาณสองในสามเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 41.58 ปี ทั้งหมดมีสถานภาพสมรส ส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณหนึ่งในสามประกอบอาชีพทาการเกษตร และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 11,041.67 บาท และมีประสบการณ์การทางานกับชุมชนเฉลี่ย7.58 ปี (2)สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของนักท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวประมาณสองในสามเป็นเพศหญิง ประมาณหนึ่งในสามมีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีอายุเฉลี่ย 34.40 ปี เกินครึ่งหนึ่งมีสถานภาพโสด และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกือบครึ่งหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณหนึ่งในสามมีอาชีพรับราชการ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน16,924.78 บาท เกือบครึ่งหนึ่งเดินทางมาเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อน และเกินครึ่งรับรู้ข่าวสารการท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต (3) การจัดการการท่องเที่ยวตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียวของชุมชน พบว่า ในภาพรวม มีการจัดการตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียวในระดับสูง คือ มีด้านที่เป็นไปตามแนวคิดการท่องเที่ยวสีเขียว 6 ด้าน ได้แก่ด้านหัวใจสีเขียว ด้านแหล่งท่องเที่ยวสีเขียว ด้านชุมชนสีเขียว ด้านกิจกรรมสีเขียว ด้านการบริการสีเขียว และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่วนด้านที่ไม่เป็นไปตามแนวคิดดังกล่าว คือด้านรูปแบบการเดินทางสีเขียว โดยมีความสอดคล้องกันทั้งคณะกรรมการและนักท่องเที่ยว (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ คณะกรรมการ และนักท่องเที่ยว เห็นว่า ด้านรูปแบบการเดินทางสีเขียว ชุมชนไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องการแนะนำให้นักท่องเที่ยวเลือกใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1987 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
143927.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License