กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1988
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The relationship between factors and the continuous quality improvement in community hospitals, Chaiyaphum Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พาณี สีตกะลิน วาที ดิเรกศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารโรงพยาบาล --วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--ชัยภูมิ โรงพยาบาลชุมชน--การรับรองคุณภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านโรงพยาบาล กับผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ ประชากรคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 2,248 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้จำนวนขนาดตัวอย่าง 328 คน ตัวแปรต้นคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านโรงพยาบาลและปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ตัวแปรตามคือ ผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 7 ด้าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อคำถาม 3 ส่วนวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.965 สถิตที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาล ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านโรงพยาบาลคือ สถานการณ์รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ของโรงพยาบาลในปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และปัจจัยการจัดการกระบวนการ มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกว่าปัจจัยอื่นๆ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม (บริหารโรงพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1988 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
158782.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License