กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1992
ชื่อเรื่อง: | ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุกกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of care model for patients with Chronic obstructive pulmonary disease at Denchai Crown Prince Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวุธ ธรรมกุล อังคณา วงศ์แสนสี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมโภช รติโอฬาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ โรคปอด ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง--การรักษา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สถานการณ์การเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (2) ประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจากอัตราการกำเริบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน และสมรรถภาพปอด (3) ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ (4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล และการดูแลรักษาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ประชากรคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่เข้ารับการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2560 จานวน 208 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เหลือติดตามได้ทั้งหมด จานวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อัตรา ความแตกต่างของอัตรา การแจกแจงค่าความถี่แบบ 2 ทาง การทดสอบค่าที และสมการประมาณค่านัยทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวน 72 คน มีประวัติเข้ารับรักษาด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย ระหว่างปี 2558 - 2560 จำนวน 1,719 ครั้ง ซึ่งเข้ารับการรักษาด้วยอาการกำเริบเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล จำนวน 330 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.2 (2) การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังจากได้มีการพัฒนารูปแบบการดูแลแล้ว พบว่าอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันจากจำนวนคนที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินลดลง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.73) และอัตราการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันจากจำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.15) แต่เมื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดจากค่าเฉลี่ย FEV1 (%Predicted) พบว่าสูงกว่ารูปแบบเดิมแสดงถึงผู้ป่วยสมรรถภาพปอดที่ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p< 0.05) (3) ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรูปแบบที่พัฒนาแล้วมีแนวโน้มสูงขึ้น และ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกำเริบเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p< 0.05) ได้แก่ อายุ การสูบบุหรี่ ความจำเป็นในการมีผู้ดูแล ระดับความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ ส.ม. (บริหารสาธารณสุข)-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1992 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
163629.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.92 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License