กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1993
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ของพยาบาลวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพของรัฐระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparison of a new position classification and a payment system as perceived by professional nurses at the primary, the secondary and the tertiary health care units, public health inspection region 14
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรวิกา ดุจจานุทัศน์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การรับรู้
พยาบาลวิชาชีพ -- ค่าจ้าง
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนใหม่ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 และ (2) เปรียบเทียบการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่งและ ค่าตอบแทนใหม่ของพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ระดับตติยภูมิ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการแล้ว จากหน่วยบริการ สุขภาพของรัฐในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 จำนวน 373 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 การรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนใหม่ของพยาบาล วิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์หาค่าความเที่ยง ของ แบบสอบถามส่วนที่ 2 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับปฐมภูมิ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 มีการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนใหม่อยู่ในระดับสูง ส่วน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ ในเขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 14 มีการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนใหม่อยู่ในระดับปานกลาง (2) พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับปฐมภูมิ และระดับทุติยภูมิ ในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 14 มีการรับรู้ระบบจำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนใหม่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับปฐมภูมิ และระดับทุติยภูมิ มีการรับรู้ระบบ จำแนกตำแหน่ง และค่าตอบแทนใหม่สูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพของรัฐ ระดับตติยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1993
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib125615.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons