กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1998
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Operational participation of agricultural village volunteers in Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ ทองวิเศษ, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--ยะลา
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลทางเศรษฐกิจ ข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและข้อมูลพื้นฐานอื่นๆของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (2) ความคิดเห็นต่อการดาเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (3) ระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน ร้อยละ 65.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.04 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 87.2 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.63 คน มีรายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ย 189,213.70 บาท/ปี มีพื้นที่ทำการเกษตรรวมเฉลี่ย 15.57 ไร่ มีตำแหน่งเป็นผู้นำในชุมชนตาแหน่งคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจาตำบล ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรและเป็นอาสาสมัครเกษตรสาขาอื่นๆ มากที่สุด คือเป็น เกษตรหมู่บ้านแหล่งความรู้หรือข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรได้รับในระดับมากจากคู่มือการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การประชุม/ฝึกอบรม/สัมมนา แหล่งความรู้ที่ได้รับในระดับน้อย คือ ความรู้จากอินเตอร์เน็ต การได้รับการฝึกอบรมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการได้รับการสนับสนุนการปฏิบัติงานจากหน่วยงานภาพรวมได้รับระดับปานกลาง ส่วนด้านการประสานงาน งบประมาณ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและเบี้ยเลี้ยงได้รับในระดับน้อย (2) มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในระดับเห็นด้วย (3) การมีส่วนร่วมการดำเนินงานด้านการติดตามสถานการณ์การเกษตร การรายงานผลการปฏิบัติงาน การประสานงานในการถ่ายทอดความรู้และแก้ไขปัญหาอยู่ในระดับมากและมีส่วนร่วมด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัญหาของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่ไม่ได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีค่าตอบแทนในการปฏิบัติงาน ขาดความมั่นใจในการถ่ายทอดความรู้ การปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่มีความปลอดภัยเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ ข้อเสนอแนะควรให้การสนับสนุนค่าตอบแทน ปัจจัยการผลิต ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นสิ่งจูงใจ ฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน มีสวัสดิการและควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและมากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1998
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144259.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons