กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1999
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Development of Community Rice Center in Si Sa Ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรภพ มาเห็ม, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม--แง่เศรษฐกิจ
ข้าว--แง่เศรษฐกิจ--ไทย--ศรีสะเกษ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ (2) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าว ชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ (3) ปัจจัยเงื่อนไขต่อการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ (4) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษเป็น ดังนี้ กรรมการส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.47 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีตำแหน่งทางสังคมเป็น กรรมการหมู่บ้าน มีบ้างเล็กน้อยมีตำแหน่งในองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. สหกรณ์การเกษตร และ วิสาหกิจชุมชน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 14.83 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเอง และมีพื้นที่เข้าร่วมโครงการคนละ 5 ไร่ มี แรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 2.84 คน ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ยคนละ 17.23 ปี มีรายได้ภาคเกษตรมาจากการทำนาเฉลี่ย 43,011.35 บาท/ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รองลงมาเป็นหนี้กองทุน หมู่บ้าน เฉลี่ยหนี้สิน 62,845.30 บาท ส่วนใหญ่รับข่าวสารจากผู้นำชุมชนทางหอกระจายข่าวหรือเสียงตามสาย รองลงมา เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและสมาชิกโรงเรียนเกษตรกรโดยภาพรวมแล้วการรับข่าวสารของเกษตรกรเฉลี่ยอยู่ใน ระดับน้อย (2) การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชน กรรมการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในระยะเตรียมการ การ ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมพบปะ การกำหนดการประชุม การแลกเปลี่ยนข้อมูล มีความสำคัญระดับมาก ในระยะ ก่อตั้งการกำหนดเป้ าหมาย การคัดเลือกกรรมการ การกำหนดกิจกรรม การประชุม ระเบียบข้อบังคับ มีความสำคัญระดับ มาก ระยะการดำเนินกิจกรรมการประชุม การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ การดำเนินกิจกรรม การสนับสนุน การเพิ่มพูน ความรู้ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร การสรุปผลการดำเนินงานมีความสำคัญระดับมาก ระยะขยายเครือข่าย ความสำคัญในการ เชื่อมโยงด้านเมล็ดพันธุ์ การรวบรวมพันธุ์และการตลาด การกระจายพันธุ์มีความสำคัญระดับมาก (3) ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผล ต่อการพัฒนาเครือข่าย เงื่อนไขด้านการจัดการมีความสำคัญระดับมาก รองลงมา เป็นเรื่องนโยบาย (4) ปัญหาในการพัฒนา เครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คำแนะนำของกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนให้สมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน ดำเนินกิจกรรมอย่างจริงจัง ศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาการผลิต เชื่อมโยงเครือข่ายกับศูนย์อื่นๆ และพัฒนาเป็นมืออาชีพ ต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1999
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144510.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons