Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2000
Title: | การตัดสินใจเข้าร่วมการปลูกข้าวโพดเมล็ดพันธุ์แบบมีสัญญาผูกพันของเกษตรกรในอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ |
Other Titles: | Decsion making by Farmers on Maize Seed Production under Contract Farmimg in Thong Saen Khan District of Uttaradit Province |
Authors: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ จักราวุธ ศุขวัฒน์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ข้าวโพด--เมล็ดพันธุ์--การปลูก เกษตรกร--ไทย--อุตรดิตถ์ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2 ) ความรู้ ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา 3) เจตคติของเกษตรกรเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการปลูกข้าวโพด 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดโดยเฉลี่ย 6.82 ไร่ ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดโดย เฉลี่ย 14.55 ไร่ รายได้จากการขายข้าวโพดเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 89,816.47 บาท และมีหนี้สินโดยเฉลี่ย 29,090.91 บาท ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีรายได้จากการขายข้าวโพด 114,082.35 บาท และมีหนี้สินโดยเฉลี่ย 63,647.06 บาท สำหรับต้นทุนการผลิตเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ เฉลี่ย 4,250 บาท ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 5,140 บาท 2) ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจไม่แตกต่างกันกัน 3) เจตคติของเกษตรกรเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นในเรื่องพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกและทุนในการเพาะปลูกอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเกษตรกรทั่วไปส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ อยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเห็นในด้านการมีสัญญารับซื้อผลผลิตและราคาที่รับซื้อที่แน่นอน ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีความคิดว่าปัจจัยต่อการตัดสินใจในเรื่องแหล่งน้ำ และเงินทุน 5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดแบบมีสัญญา ส่วนใหญ่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีปัญหาในเรื่องต่างๆ อยู่ในระดับที่น้อย ส่วนเกษตรกรทั่วไปมีปัญหาในระดับมาก นอกจากนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและเกษตรกรทั่วไปมีปัญหาในเรื่องของแหล่งน้ำ จึงเสนอแนะให้รัฐบาลสนับสนุนด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2000 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144533.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License