กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2004
ชื่อเรื่อง: | การผลิตและการตลาดกล้วยไข่ของเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Kluay Khai Production and Marketing by Farmers in Kamphaeng Phet Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา วินัด อ่วมอยู่, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ กล้วยไข่--ไทย--กำแพงเพชร--การผลิต. กล้วยไข่--ไทย--การตลาด. |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตกล้วยไข่ของเกษตรกร (3) การตลาดกล้วยไข่ และ (4)ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตและการตลาดกล้วยไข่ของเกษตรกร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.14 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.28 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.23 คน พื้นที่ทาการเกษตรเฉลี่ย 22.94 ไร่ รายได้ทั้งหมดของครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 294,474.53 บาท รายจ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 108,608.59 บาท หนี้สินเฉลี่ย 191,441.86 บาท พื้นที่ปลูกกล้วยไข่เฉลี่ย 5.48 ไร่ มีประสบการณ์เฉลี่ย 15.56 ปี 2) ปลูกเป็นอาชีพหลัก จ้างแรงงานรายวันช่วยในการผลิต ต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 5,355.30 บาท ใช้ทุนส่วนตัว ผลิตผลที่ได้เฉลี่ย 2,673.72 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ไม่เคยเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ใช้พันธุ์กำแพงเพชร แหล่งพันธุ์จากในท้องถิ่น มีประวัติดี มีการตัดแต่งหน่อและใบ ตัดปลีเมื่อกล้วยติดผลจนหวีสุดท้าย มีการคัดเลือกหน่อ น้ำให้แบบลาดตามร่อง ใช้น้ำจากบ่อบาดาล ให้น้ำเฉลี่ยปีละ 23.48 ครั้ง ไม่มีการป้องกันความเสียหายจากลมพายุ ไม่มีการระบาดของแมลง มีการระบาดของโรค โรคที่พบมากได้แก่โรคใบไหม้ช่วงเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นสารเคมี การกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 6.40 ครั้งต่อปี โดยฉีดพ่นสารเคมี ไม่ใช้สารเคมีหลังติดผลและไม่ห่อเครือ การเก็บเกี่ยวสังเกตจากผลจะมีลักษณะกลม ใช้คนแบกหามออกจากสวน ไม่ทำความสะอาดผลิตผล การจัดการสวนหลังเก็บเกี่ยวโดยการปลูกใหม่ 3) จาหน่ายผลิตผลให้พ่อค้า/แม่ค้าในท้องถิ่นที่มาซื้อในสวนและเป็นผู้กำหนดราคา โดยการขายส่ง มีการคัดเกรด ขายเป็นตั้งเฉลี่ยตั้งละ 111.25 บาท ชำระเงินตามจำนวนผลิตผลที่ซื้อขายเป็นครั้งๆ ไม่มีการรวมกลุ่มจาหน่ายและแปรรูปผลิตผล ใช้ข้อมูลการตลาดในการติดสินใจผลิตกล้วยไข่ 4) ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาต้นกล้วยไข่หักล้มอยู่ในระดับมาก และปัญหาโรคและแมลงศัตรูกล้วยไข่อยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะของเกษตรกรควรพัฒนาและสนับสนุน การใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณผลิตผล การผลิตให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย การผลิตและใช้จุลินทรีย์ชีวภาพในการควบคุมโรคและแมลง อยู่ในระดับมาก และส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเพื่อการส่งออก การใช้เทคโนโลยีการเก็บรักษาและแปรรูป การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการขนส่ง อยู่ในระดับปานกลาง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2004 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
144578.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License