Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2005
Title: การยอมรับการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดด สีน้าตาลในนาข้าวของเกษตรกรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Farmer's Adoption of Beauveria bassiana Production and for Brown Planthopper Controls in Paddy Rice fields in Phra Nakhon Si Ayuthaya Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปริญญาโท
ธนวรรณ พูลเสมอ, 2527-
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เชื้อราบิวเวอเรีย--การผลิต
แมลงศัตรูพืช--การควบคุม--ไทย--พระนครศรีอยุธยา
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล--การควบคุม
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ของเกษตรกร 2) ปัจจัยทางแรงจูงใจในการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวของเกษตรกร 3) การยอมรับการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยอมรับการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.4 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.29 ราย เกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด เฉลี่ย 34.09 ไร่พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 36.3 ไร่ ต้นทุนปลูกข้าวเฉลี่ย 3,342 บาทต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 7,492.765 บาทต่อตัน และรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 287,509.507 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีแรงจูงใจเกี่ยวกับการผลิตและการใช้เชื้อรา บิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลในนาข้าวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) เกษตรกรยอมรับการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียในภาพรวมมีการยอมรับนำไปปฏิบัติในระดับมากที่สุด 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ในภาพรวมเกษตรกรมีระดับปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอยู่ในระดับน้อย และมีข้อเสนอแนะ คือ ควรใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียแทนเมล็ดข้าวโพด และจัดอบรมเกี่ยวกับการผลิตเชื้อราบิวเวอเรียชนิดแห้งเพื่อให้สามารถเก็บไว้ใช้ให้ทันกับความต้องการและทันกับการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลในนาข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2005
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144580.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons