กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2010
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานโครงการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนส่วนเก่าเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้า AFTA ในอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Operations of Oil Palm Extension Project by good variety Replacing old variety Plantations as the Preparation of AFTA impacts in Khlong Thom District of Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงศ์ ไกรทิพย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--กระบี่
ปาล์มน้ำมัน--ไทย--แง่เศรษฐกิจ.
การค้าเสรี--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อความเหมาะสมในการดาเนินงานโครงการ (3) ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการดาเนินงานของโครงการ (4) ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรเกี่ยวกับพันธุ์ปาล์มน้ำมันและการปลูกปาล์มน้ำมัน และ (5) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดาเนินงานโครงการ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.65 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.87 คน ประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 15.58 ปี รายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 45,500 บาทต่อเดือน รายได้เฉพาะผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 24,940 บาทต่อเดือน พื้นที่ทาการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 44.16 ไร่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 36.52 ไร่ จำนวนแรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 7.28 คน รับทราบข้อมูลโครงการจากเจ้าหน้าที่ประจาตำบลในระดับมาก ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (2) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่า ความเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการดาเนินงานโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ปาล์มน้ำมันและการปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับมาก และ (5) เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความเห็นว่า ปัญหา/อุปสรรคเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีข้อเสนอแนะคือ ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการไม่ควรเกิน 1 ปี และควรปรับปรุงการดำเนินงานโครงการด้านการประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2010
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144588.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons