Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2012
Title: | การพัฒนาระบบการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลด้วยอิเล็กทรอนิกส์โรงพยาบาลชลประทาน |
Other Titles: | The development of an electronic nursing staffing system at Royal Irrigation Hospital |
Authors: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ปิยะนันต์ อิสสระวิทย์, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา จุฑาทิพย์ หิรัญสาลี, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลชลประทาน พยาบาล -- อัตรากำลัง |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดอัตรากำลังทางการ พยาบาลด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลชลประทานและ (2 ) เปรียบเทียบประโยชน์ของการใช้ระบบการจัด อัตรากำลังทางการพยาบาล ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ก่อนและหลังการพัฒนา การวิจัยนี้ใช้หลักการวิเคราะห์และออกแบบพัฒนาระบบการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลด้วย อิเล็กทรอนิกส์ และใช้โปรแกรมวิชวลเบสิกสตูดิโอดอทเน็ต (2008 (Visual basic studio.net 2008) และวัดผลลัพธ์ ด้านประโยชน์ต่อการจัดอัตรากำลังจากการสอบถามความต้องการของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้จากการคัดเลือกอย่างเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมีอที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) ระบบการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาลด้วยอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น ชึ่งได้ผ่านการทดสอบระบบตามมาตรฐาน Capability Maturity Model Integration (CMMI) (2) เครื่องมีอที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประโยชน์ของระบบการจัดอัตรากำลังด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งได้ผ่านการหาความตรงตามเนี้อหาและความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ระบบที่สร้างขึ้นสามารถใช้จัดอัตรากำลังทางการพยาบาลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตั้งแต่การวางแผนอัตรากำลัง การจัดตารางเวรปฏิบัติงาน และการจัดสรรอัตรากำาลังมีความ สอดคล้องกับองค์ประกอบของกระบวนการจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล โดยสามารถวิเคราะห์และวางแผน กาวจัดอัตรากำลังได้สะดวก เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ประหยัดเวลา ทรัพยากรและแรงงาน และตรวจสอบผลผลิต ทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง (2) ประโยชน์ของการจัดอัดรากำลังทางการพยาบาลด้วยระบบใหม่นี้ ทั้งโดยรวม และรายด้านหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2012 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128417.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 32.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License