กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2018
ชื่อเรื่อง: การผลิตข้าวและการจัดการตอซังข้าวของเกษตรกรในเขตใช้น้ำชลประทาน อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rice production and straw management by Farmers in the Irrigation Area of Wat Bot District, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิรัตน์ นาคเอี่ยม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าว--การผลิต--ไทย--พิษณุโลก
ตอซังข้าว--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) การผลิตข้าวของเกษตรกร (3) เจตคติในการจัดการตอซังข้าวของเกษตรกร (4) วิธีการปฏิบัติในการจัดการตอซังข้าวของเกษตรกร (5) ปัญหาและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวและการจัดการตอซังข้าวของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรมากกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.43 ปี ส่วนใหญ๋จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.69 คน แรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 1.95 คน พื้นที่ถือครองเพื่อการทำนาเฉลี่ย 17.67 ไร่ รายได้จากการทานาเฉลี่ย 220,748.73 บาท (2) เกษตรกรมีการปลูกข้าวทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาจากพ่อค้า ใช้วิธีการปลูกข้าวแบบนาหว่านมากที่สุด ใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ยต่อไร่ 22.31 กิโลกรัม ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 769.36 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.76 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,800.78 บาทต่อไร่ (3) เจตคติของเกษตรกรต่อการจัดการตอซังข้าวอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดในการไถกลบและหมักตอซังข้าว เป็นการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี รองลงมาคือ ตอซังข้าวสามารถนาไปจัดการให้เกิดประโยชน์ได้ การเผาตอซังข้าว ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะจากหมอกควันและภาวะโลกร้อน (4) การจัดการตอซังข้าวของเกษตรกรจะทำการไถกลบหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต และทำการเผาทันทีหลังการเก็บเกี่ยว หากมีการเลี้ยงสัตว์จาพวก โค กระบือ จะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และอัดก้อนเพื่อจำหน่ายหรือเก็บไว้ใช้ประโยชน์ นอกจากนั้น ยังมีการนำมาหมักเพื่อทำปุ๋ยหมัก และใช้เป็นวัสดุคลุมดินสำหรับการเพาะปลูก (5) ปัญหาการจัดการตอซังข้าว ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกรและการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ขาดวัสดุอุปกรณ์และเครื่องจักรกล มีข้อเสนอแนะหน่วยงานราชการควรให้ความรู้ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลในการจัดการตอซังข้าวที่ต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2018
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144599.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons