Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2025
Title: การปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้านในจังหวัดนราธิวาส
Other Titles: Work performance of village Agricultural Volunteers in Narathiwat Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัครวุฒิ ย่อมดอน, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--นราธิวาส
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (2) ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงาน (3) ความคิดเห็นถึงความจำเป็นและการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (4) ความคิดเห็นของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านถึงประโยชน์ที่ได้รับในการปฏิบัติงาน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านต่อการปฏิบัติงาน ผลการวิจัย พบว่า (1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.89 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีขนาดพื้นที่ทาการเกษตร เฉลี่ยอยู่ที่ 13.32 ไร่ จานวนแรงงานด้านการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ยอยู่ที่ 2.76 คน อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีรายได้จากภาคการเกษตร เฉลี่ยอยู่ที่ 99,585.53 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกการเกษตร เฉลี่ยอยู่ที่ 69,914.47 บาทต่อปี อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านที่ดำรงตำแหน่งทางสังคม ส่วนใหญ่เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน และเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมาแล้ว 2 ปี สาเหตุในการตัดสินใจเข้ามาเป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่มาจากความต้องการช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านทราบข้อมูลทางการเกษตรจากโทรทัศน์และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่เข้าร่วมประชุม ฝึกอบรมและสัมมนา (2) ความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านส่วนใหญ่ตอบคำถามถูกอยู่ในช่วง 14-15 ข้อ (3) ความคิดเห็นของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านถึงความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านถึงการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ความคิดเห็นของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านถึงประโยชน์ที่ได้รับในการปฏิบัติงาน ประเด็นเพิ่มทักษะความรู้ด้านการเกษตรอยู่ในระดับมาก ส่วนประเด็นได้รับเงินตอบแทนจากหน่วยงานราชการอยู่ในระดับน้อยที่สุด (5) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านมีปัญหาด้านการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยจากโรคแมลงศัตรูพืชระบาด อยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน พัฒนาความรู้และมีค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2025
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144812.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons