กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2033
ชื่อเรื่อง: | เปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพระหว่างโรงพยาบาลชุมชนเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 1 ที่ได้รับและยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparison of learning organization of nursing departments between accredited and non-accredited community hospitals, Public Health Inspection Region 1 as perceived by professional nurses |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วรรณี ตปนียากร, อาจารย์ที่ปรึกษา สุกานดา สำเภาทอง, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ การเรียนรู้องค์การ การพยาบาล -- การบริหาร การบริหารองค์ความรู้ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่ม การพยาบาล (2) เปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล (3) ประสบการณ์ในการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล และ (4) ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฎิบัติงานในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 1 และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 1 ปี จำนวน 514 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบทลาย ขั้นตอน และหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล จำนวน 10 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 2 ตอน (1) ข้อมูลส่วนบุคคลและ (2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และชุดที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ในการพัฒนากลุ่มการพยาบาลให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ปัจจัยที่เอื้อและปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน เขต ตรวจราชการสาธารณสุขที่ 1 ที่ได้รับการรับรองคุณภาพอยู่ในระดับสูง ส่วนโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรอง คุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง (2) คะแนนเฉลี่ยการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ที่ได้รับและยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (3) แนวทางการพัฒนากลุ่มการพยาบาลให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การจัดประชุมวิชาการในการประชุมประจำเดือน 2) การส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่พยาบาลไปอบรมภายนอกหน่วยงาน 3) การร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ ของกลุ่มการพยาบาลและกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนของกลุ่มการพยาบาล (4) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) นโยบายที่ชัดเจน 2) มีกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพและ 3) ภาวะผู้นำของผู้นำทางการพยาบาลทุกระดับ ปัญหาและอุปสรรคต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้แก่ 1) บุคลากรไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนา 2) พยาบาลอายุมาก ภาระงานมาก และมีปัญหาสุขภาพ และ 3) การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2033 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib128851.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.08 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License