กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2034
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of a change of shift report model based on a nursing process conducted by professional nurses at Sakon Nakhon Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิจิตรา กุสุมภ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายทิพย์ ไชยรา, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การเขียนรายงาน
บันทึกการพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบรายงานการส่งเวรด้วย กระบวนการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสกลนคร และ (2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบรายงาน การส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาล ในด้านคุณค่าของรูปแบบรายงานการส่งเวรก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชิพ ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤติศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 13 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) รูปแบบ รายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น (2) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพ และแบบทดสอบ ความรู้เรื่องการรายงานการส่งเวรด้วยกระบวบการพยาบาล และ (3) แบบสอบถามคุณค่าของรูปแบบรายงานการ ส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาลตามการรับเของพยาบาลวิชาชิพ เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม คุณค่าของรูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติทดสอบที กรณีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบรายงานการส่งเวรที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบแผนรายงานการส่งเวร ในรูปแบบของ “การประเมินสภาพ – ข้อวินิจฉัยการพยาบาล – กิจกรรมการพยาบาล - การประเมินผล'' ตามกระบวนการพยาบาล โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลรายงานการส่งเวรในรูปแบบเดียวกันกับรายงานการส่งเวร ทำ ให้รายงานการส่งเวรและรับเวรเป็นไปในแนวเดียวกัน ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยแบบองค์รวม และการ ดูแลอย่างต่อเนื่อง และ (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณค่าของรูปแบบรายงานการส่งเวรด้วยกระบวนการพยาบาล โดยรวมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p< 0.01)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2034
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib128941.pdfเอกสารฉบับต็ม23.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons