Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2044
Title: การพัฒนาแบบจำลองการส่งเสริมการผลิตผลไม้ของไทยเพื่อการตลาดคุณภาพสูง
Other Titles: Extension model development of Thai fruit production for premium marketing
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ผลไม้--การตลาด--ไทย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิจัยนี้เพื่อศึกษา 1) ระบบการตลาดผลไม้คุณภาพสูง 2) วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตผลไม้เพื่อการตลาดคุณภาพสูง 3) แบบจำลองการส่งเสริมการผลิตผลไม้เพื่อการตลาดคุณภาพสูงที่เหมาะสม ผลของการศึกษา 1) ระบบการตลาดผลไม้คุณภาพสูง ต้องคำนึงถึง 6 ประเด็น ได้แก่ รูปแบบการ บริโภค ลักษณะทางสัณฐานวิทยา สายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ มาตรฐานการผลิต ลักษณะการขายที่ตลาดต้องการ และช่วงระยะเวลาที่ตลาดต้องการ โดยมาตรฐานการตลาดคุณภาพสูงสามารถเทียบเคียงได้กับมาตรฐานการ ส่งออก 2) วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในกระบวนการผลิตผลไม้เพื่อการตลาดคุณภาพสูง พบว่า (1) เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ ต้องวางแผนการผลิตตามช่วงเวลา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และการรวมกลุ่มเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตและการ ขายสินค้า (2) เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ต้องจัดหาพันธุ์ที่เหมาะสม การวางแผนระยะปลูก การจัดหาแหล่งน้ำ การ บำรุงต้นที่เหมาะสม การใช้มาตรฐานวิธีการเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (3) กลุ่มผู้ผลิตผลไม้ต้อง ปลูกสายพันธุ์ที่ตลาดต้องการ การรวมกลุ่มเพื่อคัดเกรดผลผลิต และการผลิตตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (4) กลุ่มผู้ผลิตผลไม้จะต้องเรียนรู้และซื่อสัตย์ในการคัดแยกผลิตผล การบริหารแรงงานภายในและภายนอก ครัวเรือนของสมาชิกกลุ่ม การรวมกลุ่มเพื่อขอรับการสนับสนุน และการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้อง 3) แบบจำลองการส่งเสริมการผลิตผลไม้เพื่อการตลาดคุณภาพสูงที่เหมาะสม ต้องแยกประเภทผู้ส่ง สาร ช่องทางและสื่อที่ใช้ในการสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละประเด็น ดังนี้ (1) ผู้ส่งสาร ประกอบด้วย ผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (2) ช่องทางและสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ การสนทนารายบุคคล การศึกษาดูงานสวนผลไม้ที่ประสบ ความสำเร็จ เอกสารสัญญาซื้อขายผลไม้ และการประชุมกลุ่ม
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2044
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
147953.pdfเอกสารฉบับเต็ม37.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons