กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2045
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The operations of school 4-H clubs in Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดรุณี ส่งเสริม, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ยุวเกษตรกร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของโรงเรียนที่มีกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน (2) วิธีการดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน (3) ศึกษาความต้องการในการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกร ในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กรรมการและสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน จังหวัดอุบลราชธานี จานวน 112 ราย และผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ปกครอง โรงเรียน ครูที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจัดเก็บ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่าสุด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) คณะกรรมการและสมาชิกยุวเกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 11.55 ปี กาลังศึกษาในระดับชั้น ป. 4-ป. 6 ส่วนใหญ่เข้าร่วมทำกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนโดยมีเจ้าหน้าที่และครูแนะนำ และมีความต้องการความรู้ด้านการเกษตร ด้านเคหกิจเกษตรในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการในระดับมาก คือความต้องการฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตร ส่วนปัญหามีอยู่ในระดับปานกลาง คือไม่มีสินเชื่อการเกษตร และไม่มีทักษะด้านการฝึกปฏิบัติ (2) ผู้ปกครองยุวเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และเป็นเกษตรกร โดยทราบและสนับสนุนให้บุตรหลานเป็นสมาชิกยุวเกษตรกร มีความต้องการให้บุตรหลานได้รับความรู้ด้านการเกษตร ส่วนโรงเรียน และครูที่ปรึกษาสนับสนุนกิจกรรมยุวเกษตรกรเป็นประจาทุกปี มีความต้องการปัจจัยการผลิตและการฝึกปฏิบัติด้านการเกษตร ปัญหา คือการประสานงาน และไม่มีวัสดุอุปกรณ์ด้านการเกษตร (3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44.55 ปีจบการศึกษาวิชาเอกคหกรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ในการรับผิดชอบงานยุวเกษตรกร 16 ปี รับผิดชอบกิจกรรมด้านการเกษตร มีความต้องการปัจจัย และการประสานงานในระดับต่าง ๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2045
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156517.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons