กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2047
ชื่อเรื่อง: | บทบาทหมอดินอาสาในการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The roles of soil improvement volunteers in the extension of biotechnology substance utilization : a case study in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา ศศิธร หุ่นทอง, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ดิน--เทคโนโลยีชีวภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของหมอดินอาสา 2) ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของหมอดินอาสา 3) บทบาทหมอดินอาสาในการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของหมอดินอาสาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) หมอดินอาสาส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อายุเฉลี่ย 55.55 ปี จานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.77 คน มากกว่าครึ่งมีตำแหน่งเป็นกรรมการหมู่บ้าน อาชีพหลักคือทำนา รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 84,786.67 บาท/ปี และรายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 24,515.73 บาท/ปี ทุกคนมีหนี้สิน แหล่งหนี้สินส่วนใหญ่ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) หมอดินอาสามีความรู้เกี่ยวกับบทบาทที่ต้องปฏิบัติเป็นอย่างดี โดยเกินกว่าร้อยละ 90 ของหมอดินอาสามีความรู้อย่างถูกต้องในประเด็นต่างๆ ยกเว้น 3 ประเด็นที่หมอดินอาสาจำนวนหนึ่งที่ยังมีความรู้ไม่ถูกต้อง 3) บทบาทของหมอดินอาสาด้านการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ การร่วมกิจกรรม และการส่งเสริมแก่เกษตรกรในการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ โดยประมาณครึ่งหนึ่งแสดงบทบาทดังกล่าวเป็นประจำ ส่วนอีกจำนวนเท่าๆ กัน แสดงบทบาทเป็นบางครั้ง 4) หมอดินอาสามีเพียงบางส่วนที่มีปัญหาบางประการ ได้แก่ การขาดการส่งเสริมเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ การเปลี่ยนเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินบ่อยครั้ง และการอบรมน้อยครั้งเกินไป ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการติดต่อประสานงานกันอย่างสม่าเสมอ ไม่ควรเปลี่ยนเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินบ่อยครั้ง และควรมีการจัดฝึกอบรมมากกว่า 2 ครั้ง/ปี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2047 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
130818.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License