กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2049
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจของข้าวโพดหวาน พันธุ์อินทรี 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of high quality organic fertilizer, bio-fertilizer and chemical fertilizer on economic yield of sweet corn variety 'INSEE 2'
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หฤษฎี ภัทรดิลก, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา จิตตลดากร, อาจารย์ที่ปรึกษา
คำนึง แสงขำ, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด--ปุ๋ย
การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ข้าวโพด--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ต่อผลผลิตทางเศรษฐกิจข้าวโพดหวาน (2) เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ผลการศึกษาพบว่า (1) ทรีทเมนต์ที่ 2 ให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับทรีทเมนต์อื่น โดยให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,324 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักหลังปอกเปลือกเฉลี่ย 1526.02 กิโลกรัมต่อไร่ น้าหนักฝักทั้งเปลือกเฉลี่ย 350 กรัม/ฝัก และความยาวฝักเฉลี่ย 20.70 เซนติเมตรต่อฝัก ส่วนจำนวนฝักต่อไร่ พบว่า ทรีทเมนต์ที่ 6 ให้จานวนฝักต่อไร่สูงสุด 6,720 ฝักต่อไร่ ส่วนทรีทเมนต์ที่ 2 ให้จำนวนฝัก 6,640 ฝักต่อไร่ สำหรับความสูงต้นข้าวโพด และน้ำหนักฝักหลังปอกเปลือกไม่แตกต่างทางสถิติทุกทรีทเมนต์ ส่วนผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ปริมาณธาตุไนโตรเจน ปริมาณธาตุแมกนีเซียม ทุกทรีทเมนต์ค่อนข้างคงที่ ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุ เพิ่มขึ้น หลังการทดลองในทรีทเมนต์ที่ 3 ทรีทเมนต์ที่ 4 และทรีทเมนต์ที่ 5 ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส ลดลงหลังการทดลอง โดยเฉพาะทรีทเมนต์ที่ 1 ทรีทเมนต์ที่ 3 ทรีทเมนต์ที่ 4 และ ทรีทเมนต์ที่ 6 ปริมาณธาตุโพแทสเซียม ลดลงหลังการทดลองทุกทรีทเมนต์ และปริมาณธาตุแคลเซียม ลดลงหลังการทดลองในทรีทเมนต์ที่ 1 และทรีทเมนต์ที่ 2 แต่ทรีทเมนต์ที่ 3 ทรีทเมนต์ที่ 4 ทรีทเมนต์ที่ 5 และทรีทเมนต์ที่ 6 เพิ่มขึ้น (2) จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าทรีทเมนต์ที่ 2 ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุด กล่าวคือได้กาไรสุทธิ 28,578 บาทต่อไร่ โดยต้นทุนในการปลูกข้าวโพดหวานทรีทเมนต์ที่ 2 เท่ากับ 13,254 บาทต่อไร่ และรายได้เท่ากับ 41,832 บาทต่อไร่ สรุปได้ว่า การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินโดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลให้ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจและผลตอบแทนสูงกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงหรือปุ๋ยชีวภาพ พด 12 เพียงอย่างเดียว รวมถึงการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงหรือปุ๋ยชีวภาพ พด12 รวมกับปุ๋ยเคมีอัตราต่า แสดงว่าปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยชีวภาพ ให้ธาตุอาหารที่ข้าวโพดหวานต้องการได้ไม่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางวิชาการที่แนะนาให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี เพื่อให้ผู้ผลิตข้าวโพดได้รับผลผลิตทางเศรษฐกิจและผลตอบแทนสูง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2049
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130821.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons