กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2055
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงกุ้งทะเลตามการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลของเกษตรกรในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marine shrimp culture adhering to good aquaculture practices for marine shrimp farm by farmers in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะนาถ แก้วจินดา, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์.
กุ้งทะเล--การเลี้ยง
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) แหล่งที่มาของความรู้และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐ (3) สภาพการเลี้ยงกุ้งทะเลตามการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้งทะเลตามการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าที่ดีสาหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการเลี้ยงกุ้งทะเลตามการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.81 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้งทะเลเฉลี่ย 11.86 ปี และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มใดๆ เกษตรกรเกือบทั้งหมดเลี้ยงกุ้งขาว ส่วนใหญ่มีขนาดพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเลเฉลี่ย 16.79 ไร่ จานวนแรงงานในครัวเรือน/รับจ้างเฉลี่ย 1.91 คน มีรายได้จากการเลี้ยงกุ้งทะเลเฉลี่ย 100,035.71 บาท/1 รอบการเลี้ยง โดยมีต้นทุนเฉลี่ย 71,750 บาท/1 รอบการเลี้ยง แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่เป็นของตนเอง และแหล่งสินเชื่อส่วนใหญ่มาจากมาจาก ธ.ก.ส. (2) แหล่งความรู้ที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน และได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่รัฐอยู่ในระดับน้อย (3) เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติตามมาตรฐานจีเอพีทั้ง 7 ด้าน และมีความคิดเห็นว่าความยุ่งยากในการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้งทะเลตามมาตรฐาน ได้แก่ การเป็นสมาชิกกลุ่มและต้นทุนในการเลี้ยงกุ้งทะเล (5) เกษตรกรมีปัญหาเรื่องราคากุ้งไม่แน่นอนและอาหารมีราคาแพง จึงเสนอแนะให้มีการประกันราคากุ้งและควบคุมราคาอาหารไม่ให้สูงเกินกว่าความเป็นจริง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2055
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
132868.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons