กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2062
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between achievement motivation, transformational leadership of head nurses, and effectiveness of patient care units as perceived by professional nurses at community hospitals, public health inspection region 10
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนพร แย้มสุดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
วงเดือน ปั้นดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิ่้มนวล โยคิน, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
บริการการพยาบาล
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงอรรถาธิบายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แรงจูงใจใฝ่สัมสิทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย และประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ใรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ใฝ่สัมสิทธิ์ของพยาบาล วิชาชีพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย และ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพล ในการทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ใรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการ สาธารณสุขที่ 10 จำนวน 280 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาล วิชาชีพ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย และ 4) ประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ชึ่งผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงของส่วนที่ 2-4 เท่ากับ .97, .96 และ .93 และหาค่าความเที่ยง ของแบบสอบถาม ส่วนที่ 2-4 โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .82, .98 และ .96 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ หัวหน้าหอผู้ป่วย และประสิทธิผลของหอผู้ป่วยทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) แรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ ของพยาบาลวิชาชีพ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผล ของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 349 และ .682 ตามลำดับ) (3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพยาบาลวิชาชีพ และ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย สามารถร่วมทำนายประสิทธิผลของหอผู้ป่วยได้รัอยละ 48.9
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2062
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib130707.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons