Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2065
Title: การศึกษาคุณภาพของการบริการจักษุวิทยาตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ : กรณีศึกษาของโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
Other Titles: study of ophthalmolgy service quality as perceived by the clients : a case study at Mettapracharak (Watraikhing) Hospital
Authors: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนี นามจันทรา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิราวรรณ จันทร์สมบูรณ์, 2502-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
จักษุวิทยา
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้คุณภาพของการ บริการจักษุวิทยาของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) และ (2) เหตุผลการเลือกใช้ บริการจักษุวิทยาของผู้ใช้บริการ แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ 1) กลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม เป็นผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จำนวน 398 คน และ 2) กลุ่มที่ร่วมสนทนากลุ่ม เป็นผู้ใช้บริการ ที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แบบสอบถามคุณภาพของ การบริการจักษุวิทยา แผนกผู้ป่วยนอกจักษุ และ (2) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามแรกได้ ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณภาพของการบริการจักษุวิทยา ตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) โดยรวมอยู่ในระดับสูง (X = 4.15, SD = .73) และจากการ สนทนากลุ่ม ผู้ไช้บริการมีการรับรู้ว่า คุณภาพของการบริการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก และมีการรับรู้คุณภาพ ของการบริการประกอบด้วย 7 ด้านได้แก่ 1) ระบบการใหับริการดีและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) ความ สะดวกในการใช้บริการ 3) บุคลากรมีพฤติกรรมบริการที่ดี 4) การใหับริการยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง 5) อุปกรณ์และเครื่องมือทางจักษุทันสมัย 6) แพทย์เฉพาะทางและบุคลากรด้านจักษุมีความเชี่ยวชาญ และ 7) การให้ช้อมูล ความรู้ และคำแนะนำ (2) เหตุผลของการเลือกมาใช้บริการ มี 5 ข้อ ได้แก่ 1) โรงพยาบาล ต้นสังกัดส่งตัวมาหรือมีผู้แนะนำมา 2) เป็นโรงพยาบาลที่รักษาโรคตาโดยเฉพาะ 3) จักษุแพทย์ที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา 4) เครื่องมือที่ทันสมัย และ 5) ความสะดวกในการเดินทางเข้ารับบริการ
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2065
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib130832.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons