กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2073
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสมุทรสาคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a nursing record model in a Neonatal Intensive Care Unit of Samutsakhon Hospital |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชนี นามจันทรา, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา อุดมพร คำล้ำเลิศ, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ บันทึกการพยาบาล |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบันทึกทางการพยาบาล ก่อนพัฒนารูปแบบ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหออภิบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมุทรสาคร และ (3) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการบันทึกที่พัฒนาขึ้นในด้านคุณภาพการของการบันทึกทางการพยาบาล และการรับรู้คุณค่าของรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งได้จากการคัดเลือกอย่างเจาะจง ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงานใน หออภิบาลทารกแรกเกิด จำนวน 15 คน และ (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลของผู้ป่วยก่อนและหลังพัฒนาอย่างละ 30 แฟ้ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพและแบบทดสอบความรู้เรื่องการบันทึกทางการพยาบาล (2) รูปแบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น (3) แบบตรวจสอบคุฌภาพของการบันทึกทางการพยาบาล และ (4) แบบสอบถามการรับรู้คุณค่าของการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลเครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และความเที่ยง โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องตามสูตรของสก๊อต และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค ค่าความเที่ยงของแบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาล ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ความครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาล ความถูกต้องตามหลักการบันทึกและความต่อเนื่องของการบันทึก เท่ากับ 0.95, 0.95, และ 0.89 ตามลำดับ และความเที่ยงของแบบสอบถามการรับรู้คุฌค่าของการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U test และสถิติทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (I) ปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลที่พบมี 3 ประการ คือ ก. วิธีการบันทึกไม่ ครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาล บันทึกไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน และไม่ต่อเนื่อง ข. แบบบันทึกไม่เหมาะสมทำให้บันทึกไม่ครอบคลุม และไม่สอดคล้องตามกระบวนการพยาบาล ไม่ครอบคลุมปัญหาของผู้ป่วยแบบองค์รวม และ มีแบบฟอร์มที่มีการบันทึกซ้ำซ้อน ค. ไม่มีคู่มือการใชัรูปแบบบันทึกทางการพยาบาล สำหรับใช้เป็นแนวทางการการบันทึกและตัวอย่าง (2) รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วิธีการบันทึกและแบบบันทึกตามกระบวนการพยาบาล และคู่มือการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาทที่เอื้อต่อการบันทึกอย่างรวดเร็ว ครบถ้วนครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยแบบองค์รวมและอย่างต่อเนื่อง และคู่มือการใช้รูปแบบบันทึกทางการพยาบาล ที่เอื้อต่อการบันทึกได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามกระบวนการพยาบาล และ (3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและการรับรู้คุณค่าของการรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล โดยรวมหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2073 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib134592.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 30.22 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License