กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2074
ชื่อเรื่อง: การจัดอัตรากำลังพยาบาลในกลุ่มมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดโรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Nurse staffing in postpartum and newborn group at Thamuang Hospital in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัมภา ศรารัชต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรีจิต วงษ์สุธน, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พยาบาลผดุงครรภ์ -- อัตรากำลัง
การพยาบาลสูติศาสตร์ -- อัตรากำลัง
มารดาและทารก -- การพยาบาล
มาตรฐานการทำงาน
ลโรงพยาบาล -- การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปริมาณเวลาการพยาบาล ตามมาตรฐานที่พยาบาลใช้ไนการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลในการดูแลมารดาหลัง คลอดและทารกแรกเกิด จำแนกประเภทตามเกณฑ์การจำแนกผู้ป่วย 10 ประเภท (2) วิเคราะห์อัตรากำลังพยาบาลที่เหมาะสมในการดูแลมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดของ โรงพยาบาลท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กิจกรรมการพยาบาลที่ปฏิบัติต่อมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดทั้งหมด 4,180 กิจกรรม และมารดาหลังคลอด ทารกแรกเกิด จำแนกตามประเภท จำนวน 169 ราย โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของพยาบาลที่เป็นแบบในการจับเวลา เครื่องมีอประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) เครื่องมือบันทึกข้อมูล ได้แก่แบบบันทึกข้อมูลการบริการของหอผู้ป่วย สูตินรีเวชกรรม แบบบันทึกเวลา และความถี่ ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล (2) คู่มือคำอธิบายกิจกรรมการพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบ ความตรงตามเนี้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่าน และมีค่าดัชนีความสอดคล้องของการสังเกต เท่ากับ 0.93 และ 0.92 ตามลำดับ คำนวณอัตรากำลังพยาบาลที่ต้องการโดยใช้สูตรการคำนวณของ Brown พร้อมทั้งวิเคราะห์อัตรากำลัง พยาบาลที่ต้องการในแต่ละวันและการกระจายพยาบาลในแต่,ละเวร ผลการวิจัย พบว่า (1) มารดาหลังคลอดประเภทอาการหนักปานกลางและต้องการการดูแลปานกลาง (2c) ประเภทอาการหนักปานกลางและต้องการการดูแลมาก (2b) และอาการหนักและต้องการการดูแลมาก (3b) ใช้เวลาการพยาบาลตามมาตรฐาน คือ 3.82, 4.63 และ 5.35 ชั่วโมง/คน/วัน ส่วนทารกแรกเกิดประเภทอาการหนักปานกลางและต้องการการดูแลมาก (2b) ประเภทอาการหนักปานกลางและต้องการการดูแลมากตลอดเวลา (2a) และประเภทอาการหนักและต้องการการดูแลมากตลอดเวลา (3a) ใช้เวลาการพยาบาลตามมาตรฐานเท่ากับ 4.18, 6.32, 8.25 ชั่วโมง/คน/วัน ตามลำดับ (2) อัตรากำลังพยาบาลที่ต้องการในการดูแลมารดา หลังคลอดและทารกแรกเกิด เท่ากับ 15 คน/วัน และบุคลากรพยาบาลที่ขึ้นปฏิบัติงานในเวร เช่า : บ่าย : ดึก เท่ากับ 6 : 5 : 4 คน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib134595.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons