กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/207
ชื่อเรื่อง: หลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. --
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Eligibility criteria for consideration in granting preliminary subsidy and compensation pursuant to the draft of patient injury Act, B.E. --
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬสมา โพธิอุโมงค์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
สถานบริการสาธารณสุข -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ค่าทดแทน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: จากปัญหาความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขและการฟ้องร้องที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่มีแนวคิดในการชดเชยความเสียหายโดยไม่พิสูจน์ความผิด แต่กฎหมายใหม่นี้ควรมีหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยที่รวดเร็วเป็นธรรม เพื่อลดการฟ้องร้อง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุขการวิจัยนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยตามร่างพระราชบัญญัติฯ เปรียบเทียบกับประสบการณ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 แนวทางการชดเชยความเสียหายตามกฎหมายอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และระบบการชดเชยในต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาร่างกฎหมายผลการศึกษาพบปัญหาว่า 1) ในเรื่องสิทธิที่จะได้รับในการชดเชย ยังไม่มีการกำหนดความหมายของเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยที่ชัดเจน ไม่มีการกำหนดเพดานของการชดเชย 2) ในเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อให้การชดเชย พบปัญหาการบัญญัติคำว่า “มาตรฐานวิชาชีพ” ลงในกฎหมาย การไม่ชดเชยความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย และความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติและ 3) องค์ประกอบของผู้พิจารณาวินิจฉัย ยังมีสัดส่วนของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ค่อนข้างน้อย จึงได้เสนอแนะในการปรับปรุงร่างกฎหมาย ให้มีการก าหนดความหมายของเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย และกำหนดเพดานของการชดเชยให้ชัดเจน ปรับปรุงเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อให้การชดเชยใหม่ โดยแยกเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยออกจากกัน และเพิ่มสัดส่วนของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในคณะอนุกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาเกณฑ์การวินิจฉัย เพื่อให้ผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยที่รวดเร็ว เป็นธรรม ลดการฟ้องร้อง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุข สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/207
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125644.pdfเอกสารฉบับเต็ม28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น