Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2081
Title: | การพัฒนารูปแบบการบริการอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ |
Other Titles: | The development of a nursing service with caring model of professional nurses at a medical in-patient department Chiangkham Hospital |
Authors: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ บุญประเสริฐ, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา. แผนกผู้ป่วยในอายุรกรรม -- การบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์ การบริการพยาบาล ผู้ป่วย -- การดูแล |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการณ์ของรูปแบบการ บริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพแผนกผู้ป่วยในอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงคำ (2) พัฒนา รูปแบบการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ป่วย ต่อพฤติกรรมการบริการพยาบาล อย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย ที่ได้จากการคัดเลือก แบบเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 30 คน คือ กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรและกลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการบริการพยาบาล ตามรูปแบบเดิม เครื่องมีอที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) รูปแบบการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรที่พัฒนาขึ้น (2) โครงการอบรมพยาบาลวิชาชีพ 2 ครั้ง (3) แบบสอบถามการรับรู้ของผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการบริการพยาบาลอย่างเอึ้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการหาความตรงตามเนี้อหาและหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ชนิด 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1)โรงพยาบาลเชียงคำ ยังไม่มีรูปแบบการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรที่ ชัดเจนและไม่เป็นรูปธรรมโดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ของผู้ป่วยต่อพฤติกรรมการบริการพยาบาลอย่าง เอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.46) (2) รูปแบบการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรที่พัฒนาขึ้นใหม่เป็นแบบแผนของการบริการพยาบาลที่บูรณาการด้วย 1) กระบวนการดูแลผู้ป่วย 2) กระบวนการพยาบาล และ 3) การดูแลอย่างเอื้ออาทรของสแวนสัน มีการบริการพยาบาล 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเข้าถึงและการเข้ารับบริการ 2) การประเมินผู้ป่วย 3) การปฏิบัติการพยาบาลและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย 4) การให้ข้อมูลและการเสริมพลังอำนาจ และ 5) การประเมินผล ในแต่ละขั้นตอนจะบูรณาการการดูแลอย่างเอื้ออาทร 5 ด้าน ได้แก่ 1) การรู้จักผู้ป่วย 2) การอยู่กับผู้ป่วย 3) การช่วยเหลือผู้ป่วย 4) การสนับสนุน ความสามารถของผู้ป่วย และ 5) การคงไว้ซึ่งความเชื่อของผู้ป่วย และ (3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ของผู้ป่วย ต่อพฤติกรรมการบริการพยาบาลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาลวิชาชีพ จากการใช้รูปแบบการบริการพยาบาลอย่าง เอื้ออาทรที่พัฒนาขึ้นโดยรวมและรายด้านสูงกว่ารูปแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2081 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib135326.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License