กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2091
ชื่อเรื่อง: การผลิตสับปะรดของเกษตรกรในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Pineapple production by farmers in Hua-Hin District of Prachuap Khiri Khan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์พันธุ์ เธียรหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภิณยา สันตะกิจ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สับปะรด--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคม 2) สภาพการผลิตสับปะรดปีที่ 1 ปีที่ 2 และ ปีที่ 3 3) เปรียบเทียบต้นทุนและผลผลิตสับปะรดปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 46.57 ปี จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพปลูกสับปะรดเฉลี่ย 20 ปี มีจำนวนแรงงาน 1-2 คน พื้นที่ปลูกมีขนาดกลางและไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่เป็นสมาชิกของสถาบันอื่น มีรายได้มากกว่า 100,000 บาท/ปี ได้รับแหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้จากเพื่อนบ้าน 2) เกษตรกรปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียใช้หน่อปลูกแบบพืชเดี่ยวแถวคู่ ก่อนปลูกไม่มีการคัดท่อนพันธุ์แต่มีการป้องกันโรคเน่าโดยใช้สารเคมี มีการเตรียมดินมากที่สุด 2 ครั้ง อาศัยน้ำฝน บังคับดอกสับปะรดโดยใช้สารเคมี มีการป้องกันการตกค้างสารไนเตรทโดยไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังบังคับดอก ไม่ทำลายจุกสับปะรด และฉีดพ่น Mo/KCl พบการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวน 4 ครั้ง ใช้โบรมาซิล และไดยูรอนป้องกันกำจัดวัชพืช พบโรคเน่าและโรคเหี่ยว มีการเก็บเกี่ยวสับปะรดอายุ 5 เดือนหลังจากบังคับดอก มีการแคะจุก จำหน่ายผลผลิตแก่โรงงานโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง คัดผลผลิตตามมาตรฐาน คัดทิ้งผลที่ไม่สมบูรณ์ เก็บเกี่ยวแล้วนำส่งโรงงานภายใน 1-2 วัน มีการจัดเรียงผลสับปะรดขณะส่งแบบจัดเรียงเฉพาะด้านนอก 3) ต้นทุนรวมเฉลี่ยและผลผลิตเฉลี่ยของระบบการปลูกปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านสภาพดิน การปรับปรุงดิน การใช้ปุ๋ยเคมี ระบบน้ำ และการจำหน่ายผลผลิต มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานราชการขุดลอกสระ บ่อน้ำสาธารณะ ควบคุมราคาปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ประกันราคาสับปะรดในราคา 4 บาทต่อกิโลกรัม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2091
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
133899.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons