กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2092
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cost analysis of nursing service activities in Emergency Department Naresuan University Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรณุการ์ ทองคำรอด, อาจารย์ที่ปรึกษา
พูลสุข หิงคานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เนตรญา วิโรจวานิช, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร -- งบประมาณ
การพยาบาลฉุกเฉิน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลของหน่วยงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน ตามกระบวบงามหลักของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โนโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้ ระบบการคิดต้นทุนกิจกรรม ประชากรที่ศึกษาคือ กิจกรรมการพยาบาลทั้งหมดที่ปฏิบัติกับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในช่วงเวลาที่ ศึกษา จำนวน 7,027 ราย ผู้ให้ข้อมูลคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 13 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาล 1 คน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ 7 คน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริงในระหว่าง 1 พฤษภาคม 2556- 31 กรกฎาคม 2556 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลประกอบด้วยพจนาบุกรม กิจกรรมพยาบาล 126 กิจกรรม 2) แบบฟอร์มบันทึกข้อมูล 10 แบบฟอร์ม และ 3) นาฬิกา เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง โดยวิเคราะห์ความเท่าเทียมของการสังเกต (Interrater Reliability) ในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.85 ส่วนที่ 3 ได้ค่าเท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า (1) ต้นทุนรวมของกิจกรรมการพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเงิน เท่ากับ 6,404,090.37 บาท มีต้นทุนค่าแรง เท่ากับ 1,800,594.99 บาท รองลงมา คือ ต้นทุนปันส่วน เท่ากับ 1,604,250.37 บาท ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 1,559,365.81 บาท และต้นทุนค่าวัสดุ เท่ากับ 1,439,880.19 บาท ตามลำด้บ (2) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลโดยตรงจำแนกตามกระบวนการหลัก 4 ระยะ พบว่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลในระยะแรกรับมีต้นทุนรวม เท่ากับ 420,622.26 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 2,465.24 บาท ระยะจัดการภาวะคุกคามต่อชีวิตมีต้นทุนรวม เท่ากับ 766,426.34 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 6,728.52 บาท ระยะการดูแลรักษาพยาบาลมีต้นทุนรวม เท่ากับ 3,684,864.52 บาท และต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 10,099.05บาท ระยะการจำหน่ายมีต้นทุนรวม เท่ากับ 432,144.20 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 973.91 บาท ทั้งนี้มีต้นทุนระยะจัดการคุกคามต่อชีวิตที่มีต้นทุนค่าวัสดุสูงที่สุด ส่วนอีก 3 ระยะมีต้นทุนค่าแรงสูงที่สุด (3) ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลโดยอ้อมจำแนกตามกระบวนการหลัก พบว่าต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลระยะแรกรับ เท่ากับ 320,835.18 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 107.87 บาท ระยะจัดการภาวะคุกคามต่อชีวิตมีต้นทุนรวม เท่ากับ 6,543.59 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 341.41 บาท ระยะการดูแลรักษาพยาบาลมีต้นทุนรวม เท่ากับ 75,987.73 บาท และต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 359.86 บาท และระยะการจำหน่ายมีต้นทุนรวม เท่ากับ 196,666.56 บาท ต้นทุนต่อหน่วย เท่ากับ 520.52 บาท ทั้งนี้ในทั้ง 4 ระยะ มีต้นทุนค่าแรงสูงสุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2092
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib137467.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons