กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2094
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมโรงพยาบาลยโสธร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of job delegation model of Surgical Intensive Care, Yasothorn Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
ฐิรพร อัศววิศรุต, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รุ้งรังษี วิบูลย์ชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลยโสธร--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลยโสธร การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องการสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึกพยาบาลที่ปฎิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม จำนวน 12 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการมอบหมายงานด้วยการสนทนากลุ่มพยาบาล ในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม จำนวน 12 คน จนได้รูปแบบการมอบหมายงานระยะที่ 3 นำรูปแบบไปทดลองใช้ประเมินและปรับปรุงรูปแบบ เป็นเวลา 6 เดือน จนได้รูปแบบการมอบหมายงานที่พยาบาลวิชาชีพ ทั้งหมดเห็นพ้องกัน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามในการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่ม แบบประเมินการบันทึกทางการพยาบาลของ กลุ่มการพยาบาล แบบบันทึกรายงานอุบัติการณ์การเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาของกลุ่มงานเภสัชกรรมวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการมอบหมายงานในหอผูป่วยหนัก โรงพยาบาลยโสธร เป็นการมอบหมายงานแบบรายผู้ป่วย ผสมผสานกับการมอบหมายแบบตามหน้าที่และเพื่อนช่วยเพื่อน การประเมินหลังนำรูปแบบไปใช้พบว่าการบันทึกทางการพยาบาลในการด้านประเมินผู้ป่วยมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 91.0 เป็นร้อยละ 95.0 การวินิจฉัยการพยาบาลมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 65.0 เป็นร้อยละ 91.0 การวางแผนการพยาบาลมีความสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 52.0 เป็น ร้อยละ 89.2 กิจกรรมการพยาบาลมีความสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 84.5 เป็นร้อยละ 94.6 การประเมินผลการพยาบาลมีความสมบูรณ์ เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 70.0 เป็นร้อยละ 95.0 ความคลาดเคลื่อนทางการบริหารยาพบว่าการให้ยาผิดเวลาลดลงจาก ร้อยละ 0.81 เป็นร้อยละ 0.09 การให้สารนํ้าทางหลอดเลือดดำ/ยาผิดชนิดลดลงจาก ร้อยละ 0.21 เป็นร้อยละ 0.02 การให้ยาไม่ครบตามแผนการรักษาลดลงจาก ร้อยละ 0.42 เป็นร้อยละ 0.30 และพยาบาลวิชาชีพทุกคนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2094
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138352.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons