Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2095
Title: การยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Adoption of good agricultural practice by coffee farmers at Wawee Sub-district in Mae Suai District of Chiang Rai Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤตวรรณ เวชกิจ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กาแฟ--การปลูก
กาแฟ--ไทย--เชียงราย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (3) การใช้เกษตรดีที่เหมาะสม (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสม (5) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ในตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยด้าน (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 75.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.26 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟเฉลี่ย 15.5 ปี เกษตรกรร้อยละ 89.5 พูดภาษาไทยได้ ร้อยละ 81.9 ฟังภาษาไทยได้ ร้อยละ 56.2 อ่านและเขียนภาษาไทยได้ แรงงานภายในครัวเรือนเฉลี่ย 3.17 คน รายได้จากการปลูกกาแฟเฉลี่ย 194,459.38 บาท/ปี พื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 15.69 ไร่ (2) การได้ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการอบรมเรื่อง GAP เฉลี่ย 1.77 ครั้ง ประสบการณ์ในการอบรมเรื่องกาแฟเฉลี่ย 2.20 ครั้ง การรับข้อมูลข่าวสารด้านการปลูกกาแฟเฉลี่ย 3.62 ครั้ง แหล่งข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่รับมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องเกี่ยวกับกาแฟเฉลี่ย 3.53 ครั้ง (3) การใช้เกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในระดับมาก เกษตรกรส่วนใหญ่ ยอมรับระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเชิงความคิดเห็นในระดับมาก และเกษตรกรเกือบทั้งหมดยอมรับระบบเกษตรดีทีเหมาะสมในเชิงปฏิบัติในระดับมากที่สุด (4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมอย่างมีนัยสาคัญในเชิงบวกได้แก่ การรับข้อมูลข่าวสารด้านการปลูกกาแฟ พื้นที่ปลูก และระดับการศึกษา ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้เกษตรดีที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญในเชิงลบ ได้แก่จำนวนแรงงานในครัวเรือน และระดับความรู้เกี่ยวกับเกษตรดีที่เหมาะสม (5) ปัญหาและข้อเสนอ แนะเกี่ยวกับการผลิตกาแฟของเกษตรกร พบว่าปัญหาที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ส่วนปัญหาที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การขาดความรู้ในการแปรรูปผลผลิต ขาดแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านการปลูกกาแฟ ปัญหาโรคแมลงระบาด ขาดแหล่งน้ำ ปัญหาแรงงาน ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่มีตลาดในการจำหน่ายสินค้า และต้นทุนในการขนส่งผลผลิตสูง ข้อเสนอแนะของเกษตรกรคือ ให้ ความรู้ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต การป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช การแปรรูปผลผลิต
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2095
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134108.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons