Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2097
Title: การผลิตและการตลาดกาแฟของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร
Other Titles: Coffee production and marketing by farmers in Chumphon Province
Authors: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัทฐิมา สุขเสวียด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
กาแฟ--การผลิต
กาแฟ--การตลาด
กาแฟ--ไทย--ชุมพร
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม (2) สภาพการ ผลิตกาแฟ (3) สภาพการตลาดกาแฟ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดกาแฟของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.63 ปี จบการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.67 คน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง พื้นที่ปลูกกาแฟเฉลี่ย 11.72 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.13 คน ในรอบปี 2555 มีรายได้จาก ผลผลิตกาแฟเฉลี่ย 338,945.49 บาทต่อไร่ รายจ่ายเฉลี่ยต่อไร่จากการผลิตกาแฟเฉลี่ย 43,660.16 บาท เป็นค่าปุ๋ย 16,203.37 บาท ค่าต้นพันธุ์ 7,700.00 บาท ค่าเตรียมดินปรับพื้นที่ 8,164.71 บาท ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช 359.02 บาท ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช 2,418.69 บาท ค่าจ้างแรงงาน 7,984.48 บาท และค่าขนส่ง 2,600.10 บาท เกษตรกรใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตกาแฟ (2) สภาพการผลิตกาแฟของเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ ดินร่วนและดินเหนียว ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ขยายพันธุ์ด้วยตนเอง กำหนดระยะปลูก 3x3 เมตร ขุดหลุมปลูกและรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อายุต้นพันธุ์ที่ใช้ในการคัดเมล็ดไปเพาะเป็นต้นพันธุ์ 8-10 ปี ใส่ปุ๋ยเคมีระยะเตรียมต้น ระยะออกดอก ระยะสร้างผลโดยการหว่าน เฉลี่ย 50.21 46.23 และ 65.51 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ ป้ องกันกำจัดแมลงด้วยแรงงานคน กำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี ริดแขนงกาแฟหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้ดูสีผิวเป็นตัวชี้วัดในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้เครื่องตัดหญ้า (3) สภาพการตลาดกาแฟของเกษตรกรปริมาณผลผลิตกาแฟที่เก็บได้เฉลี่ย 193.38 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ขายผ่านพ่อค้าคนกลาง เพราะสะดวกรวดเร็ว มีการเก็บรวบรวมผลผลิตเอง และแหล่งข้อมูลราคาขายส่งและขายปลีกจากพ่อค้าในท้องถิ่นและเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดย พ่อค้ารับซื้อเป็นผู้กำหนดราคาและได้รับเงินทั้งหมดเมื่อขายผลผลิตแต่ละครั้ง (4) เกษตรกรมีปัญหาปุ๋ยและสารเคมีราคาแพงในระดับมากที่สุด และปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ราคาผลผลิตกาแฟตกต่ำเปลี่ยนแปลงไม่ แน่นอน ขาดแคลนแรงงานจ้างตัดแต่งกิ่งและเก็บเกี่ยว และขาดแคลนแหล่งน้ำในฤดูแล้ง โดยมีข้อเสนอแนะให้รัฐมีมาตรการช่วยเหลือต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2097
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134109.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons