กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2098
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chemical fertilizer utilization for oil palm production of farmers in Ban Na Doem District of Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สาวิตรี สุวรรณ์, 2524-
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ปาล์มน้ำมัน--การปลูก--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตปาล์มน้ามัน (3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตปาล์มน้ามัน (4) สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตปาล์มน้ามัน (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตปาล์มน้ามันของเกษตรกรในอำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 47.46 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.84 คน เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 2.57 คน เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 9.44 ปี การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง พื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันเฉลี่ย 20.08 ไร่ ในรอบปี 2555 เกษตรกรมีรายได้จากปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 10,512.50 บาทต่อไร่ มีรายจ่ายทั้งหมดต่อไร่เฉลี่ย 3,863.85 บาท และใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตปาล์มน้ำมัน (2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบและที่ลุ่ม ดินร่วนปนดินเหนียว ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์เทเนอร่าจากบริษัทจำหน่ายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โดยปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ใช้ต้นกล้าอายุเฉลี่ย 9.42 เดือน ระยะปลูก 9x9 เมตร มีการตัดแต่งทางใบและนำมาจัดเรียงรอบ โคนต้นหรือกองไว้บริเวณแถวของต้น เก็บผลร่วงหล่นบริเวณโคนต้น ป้องกันกำจัดวัชพืชโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 15 วัน โดยใช้เสียมแทงทะลายต้นที่มีอายุไม่เกิน 8 ปี (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยเคมี ในการผลิตปาล์มน้ำมันระดับมาก (4) เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเชิงประกอบร่วมกับปุ๋ยเคมีเชิงเดี่ยว ในระยะก่อนให้ผลผลิตใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เฉลี่ย 3.28 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และระยะให้ผลผลิตใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 เฉลี่ย 7.12 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยใช้วิธีหว่าน มีการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ประเภทมูลสัตว์ เกษตรกรให้ธาตุอาหารรองจำพวกโบรอนและแมกนีเซียมในระยะให้ผลผลิต และใช้สารโดโลไมต์ปรับปรุงดิน ซึ่งเกษตรกรใช้ในอัตราต่ำกว่าคาแนะนำของทางราชการ (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านปุ๋ยเคมีมีราคาแพงในระดับมากที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะให้รัฐมีมาตรการควบคุมราคา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2098
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134110.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons